Chat with us, powered by LiveChat

คดีทรัพย์สินทางปัญญา

2024-03-10

1. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445  ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้   www.สู้คดี.com 

ทนายเล่าเรื่อง ทำการค้า การขาย อย่าลืมป้องกันคนลอก เลียนแบบครับ 

เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ ไม่มีรูปร่าง ทั้งไม่อาจยึดถือครอบครองได้อย่างทรัพย์สินทั่วไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สินการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า PEAK และ PEAK กับรูปประดิษฐ์คล้ายภูเขาของผู้อื่นมาใช้กับสินค้าของตนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของแม้เป็นระยะเวลานานเพียงใด ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าโจทก์ได้ บทบัญญัติว่าด้วยการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หาอาจนำมาใช้บังคับแก่สิทธิในเครื่องหมายการค้าอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาได้ไม่

 โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำละเมิดโดยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยในลักษณะลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์เพียงแต่คาดคะเนว่าหากจำเลยกระทำการดังนั้น ผลเสียหายจะตกแก่โจทก์อย่างไร จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้นำสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยได้นำเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต เป็นการละเมิดต่อโจทก์ จึงเป็นพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในฟ้อง

 โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน คำว่า PEAK และ PEAKกับรูปประดิษฐ์คล้ายภูเขา แต่โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้เฉพาะในกรณีที่จำเลยได้นำสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์เพียงกรณีเดียวเท่านั้น

******************************************

2. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445  ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้   www.สู้คดี.com  

ทนายเล่าเรื่อง คดีทรัพย์สินทางปัญญา ถ้าอะไรไม่ถูกต้องศาลแก้ไขได้

ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 (2) และมาตรา 28 (2) ต้องเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยตรง การกระทำของจำเลยตามฟ้องโจทก์ที่ว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งสองโดยการนำแผ่นวิดีโอซีดีคาราโอเกะที่บันทึกเสียงเพลงและภาพงานเพลงซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งสองมาทำซ้ำ ถ่ายโอนข้อมูลบันทึกลงในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วนำออกขาย หรือมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการทำซ้ำดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายทั้งสอง จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 (1) และมาตรา 28 (1) เท่านั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 (2) และมาตรา 28 (2) ด้วยไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

***************************************

3. มีคดีที่ศาลใหน ปรึกษาทนายใกล้ศาลนั้น 099 464 4445  ค้นหาทนายใกล้ศาลได้ที่เวปไซต์นี้   www.ทนายใกล้ศาล.com 

ทนายเล่าเรื่อง ลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา ร้านค้าเปิดเพลงผิดลิขสิทธิ์หรือไม่
ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ต้องเป็นการเผยแพร่งานนั้นต่อสาธารณชน "เพื่อหากำไร" ซึ่งหมายความว่า กำไรนั้นหากจำเลยได้มาหรือจะได้มาจะต้องเกิดจากการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมานั้นได้ความว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่มจำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง "กำลังใจที่เธอไม่รู้" อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยได้ฟัง ไม่ปรากฏว่าจำเลยเปิดเพลงดังกล่าวเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าว หรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง

*************************************** 

4. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445  ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้   www.ทนายใกล้คุณ.com 

ทนายเล่าเรื่อง คดีทรัพย์สินทางปัญญา

โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานที่นำภาพการ์ตูนโดราเอมอนมาดัดแปลงเป็นงานศิลปะ ใช้ประยุกต์กับวัสดุสิ่งของ เครื่องใช้ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและนำมาใช้ในทางการค้าลักษณะงานตามฟ้องจึงเข้าลักษณะเป็นงานศิลปประยุกต์ กล่าวคือ เป็นงานที่นำเอางานภาพการ์ตูนไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานดังกล่าว โดยนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้าตามนิยามคำว่า "งานศิลปประยุกต์" ในมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ซึ่งมาตรา 22 บัญญัติไว้ว่าลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ให้มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก งานของผู้เสียหายมีการโฆษณางานเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2512 งานดังกล่าวจึงมีอายุการคุ้มครองอยู่ถึงเพียงวันที่ 1 ธันวาคม 2537 ขณะเกิดเหตุในคดีนี้ งานที่นำภาพตัวการ์ตูนโดราเอมอนมาดัดแปลงเป็นงานศิลปะ ใช้ประยุกต์กับวัสดุสิ่งของ เครื่องใช้ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและนำมาใช้ประโยชน์ทางการค้าตามฟ้องจึงไม่มีลิขสิทธิ์อีกต่อไป

***************************************

5. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445  ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้   www.สู้คดี.com  

ทนายเล่าเรื่อง ทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ผิดตรงใหน ไม่ผิดตรงไหนไปดูฎีกานี้ครับ

ย่อสั้นฎีกาที่ 5843/2543

พฤติการณ์ที่จำเลยทำซ้ำโดยถ่ายเอกสารงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมไว้หลายชุดแล้วเก็บไว้ที่ร้านค้าของจำเลยซึ่งอยู่ใกล้มหาวิทยาลัย ซึ่งมีการเรียนการสอนโดยใช้หนังสือของโจทก์ร่วมและมีโอกาสที่จำเลยจะขายเอกสารที่ทำซ้ำขึ้นแก่นักศึกษาได้สะดวก เป็นการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมโดยการถ่ายสำเนาเอกสารจำนวน 43 ชุดไว้เพื่อขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายอันเป็นการที่จำเลยทำซ้ำขึ้นเองเพื่อการค้าและแสวงหาประโยชน์จากการขายสำเนางานที่จำเลยทำซ้ำขึ้นมา มิใช่การรับจ้างถ่ายเอกสารจากนักศึกษาที่ต้องการได้สำเนางานที่เกิดจากการทำซ้ำไปใช้ในการศึกษาวิจัยอันเป็นเหตุยกเว้นมิให้ถือว่าการทำซ้ำของจำเลยเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 32(1) แต่อย่างใด

***************************************

6. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445  ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้   www.ทนายใกล้คุณ.com 

ทนายเล่าเรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา

ฎีกาที่ 1908/2546

โจทก์รับราชการอยู่ที่ฝ่ายวิจัยและประเมินผล สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ. มีหน้าที่โดยตรงในการประเมินผลการฝึกอบรม ไม่มีหน้าที่จัดทำเอกสารหรือเขียนตำราทางวิชาการเพื่อใช้ในการฝึกอบรม และสำนักงาน ก.พ. ก็มิได้มีคำสั่งให้โจทก์เขียนหนังสือ "คู่มือการประเมินผลการฝึกอบรมสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม/สัมมนา" และหนังสือ "คู่มือการประเมินและติดตามผลสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม/สัมมนา" หรือมีการจ่ายค่าตอบแทนให้ โจทก์เขียนหนังสือทั้งสองเล่มดังกล่าวนอกเวลาราชการ การที่โจทก์เขียนหนังสือดังกล่าวขึ้น จึงไม่ถือว่าเป็นงานที่โจทก์ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ในกรอบงานของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทำหรือก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ขึ้นเอง และในการเขียนหนังสือคู่มือทั้งสองเล่มของโจทก์ โจทก์ได้กำหนดเค้าโครงการเขียนและได้คิดกำหนดสารบัญรวมทั้งได้เขียนอธิบายเนื้อหาสาระและรายละเอียดต่าง ๆ แต่ละประเด็นโดยใช้ถ้อยคำและคำอธิบายของโจทก์ใหม่ทั้งหมดตามความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ของโจทก์โดยตรง จึงเป็นงานนิพนธ์ที่โจทก์ทำขึ้นโดยไม่ได้ลอกเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมหนังสือทั้งสองเล่ม หาใช่สำนักงาน ก.พ. ไม่

แนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้ไม่ใช่สิ่งที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 6 วรรคสอง หากจำเลยที่ 1 นำแนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการประเมินและติดตามผลการฝึกอบรมของบุคคลอื่นรวมทั้งของโจทก์ไปสร้างสรรค์งานวรรณกรรมของตน จำเลยที่ 1 จะต้องสร้างสรรค์งานนั้นขึ้นมาโดยมีเนื้อหารายละเอียดและลักษณะการแสดงออกซึ่งความคิดของจำเลยที่ 1 เอง ไม่ใช่เพียงแต่คัดลอกหรือเลียนแบบงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นในส่วนอันเป็นสาระสำคัญซึ่งถือว่าเป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 15 (1) หากจำเลยที่ 1 กระทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ การกระทำของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27 (1) แห่ง พ.ร.บ. ฉบับเดียวกัน

หนังสือ "กลยุทธ์ในการฝึกอบรม" ของจำเลยที่ 1 ในหัวข้อความหมายของการประเมินผล ขั้นตอนในการประเมินผลการฝึกอบรม รูปแบบของรายงาน แนวทางเบื้องต้นในการวิเคราะห์โครงการฝึกอบรม การกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการประเมินผล และการวางแผนประเมินผล มีข้อความที่เหมือนและคล้ายกับข้อความที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ "คู่มือการประเมินผลการฝึกอบรมสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม/สัมมนา" และ "คู่มือการประเมินและติดตามผลการฝึกอบรมสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม/สัมมนา" ของโจทก์ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญของงานประมาณ 30 หน้า จากจำนวนประมาณ 150 หน้า ข้อความบางตอนมีลักษณะเกือบเหมือนกันคำต่อคำ บางตอนมีลักษณะดัดแปลงให้ต่างกันเล็กน้อย และบางตอนก็เพียงแต่ปรับเปลี่ยนหัวข้อเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งยากที่จะเกิดขึ้นได้โดยบังเอิญ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการทำซ้ำและดัดแปลงงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์

แม้ในการเผยแพร่ตำราและสิ่งตีพิมพ์ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยจำเลยที่ 2 ไม่ได้มุ่งแสวงหาผลกำไรแบบธุรกิจเอกชน เพราะตั้งราคาจำหน่ายหนังสือใกล้เคียงกับต้นทุน แต่จำเลยที่ 1 ก็ได้รับค่าตอบแทนจากงานเขียน แสดงให้เห็นว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการกระทำเพื่อหากำไรแล้ว แม้จะไม่ได้กำไรเท่าธุรกิจเอกชนก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำและดัดแปลงงานวรรณกรรมอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ การจำหน่ายหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งหนังสือ "กลยุทธ์ในการฝึกอบรม" ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยรู้อยู่แล้วว่างานนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้จำหน่ายหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งหนังสือดังกล่าวอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์

มหาวิทยาลัยจำเลยที่ 2 เป็นหน่วยงานราชการ จัดพิมพ์ตำราต่าง ๆ ตามระเบียบว่าด้วยสำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัยจำเลยที่ 2 โดยมีคณะกรรมการบริหารของสำนักพิมพ์พิจารณาในขั้นต้น และมีบรรณาธิการตรวจคุณภาพ ในการจัดพิมพ์หนังสือ "กลยุทธ์ในการฝึกอบรม" ของจำเลยที่ 1 ก็ได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว จึงย่อมจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ไม่อาจทราบในเบื้องต้นได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่เขียนขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ ส่วนการจำหน่ายและเผยแพร่ต่อสาธารณชนในระยะต่อมานั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าหนังสือดังกล่าวจำเลยที่ 1 เขียนขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ แล้วจำหน่ายหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งหนังสือดังกล่าวเพื่อการค้า การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1) และ (2)

ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 นั้น ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ (1) เป็นการกระทำต่าง ๆ ตามที่มาตรา 32 วรรคสอง ถึงมาตรา 33 บัญญัติไว้ (2) การกระทำนั้นต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และ (3) การกระทำนั้นต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร แม้จำเลยที่ 1 จะเขียนหนังสือ "กลยุทธ์ในการฝึกอบรม" เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการสอนและเป็นผลงานทางวิชาการที่จำเลยที่ 1 ใช้ประกอบการพิจารณาขอรับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ อันอาจถือได้ว่าเป็นการวิจัยงานหรือทำซ้ำและดัดแปลงโดยผู้สอนเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันการศึกษาโดยไม่ได้หากำไร ซึ่งเข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 32 วรรคสอง (1) และ (7) แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ก็ตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำถึงขั้นจัดพิมพ์เพื่อจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อหากำไร การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว

การคัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอันอาจเข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จะต้องปรากฏว่าเป็นการกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์บางตอนตามสมควร และมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น แม้จะปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จะคัด ลอก หรือเลียนงานวรรณกรรมของโจทก์จำนวนประมาณ 30 หน้า จากจำนวนทั้งหมดประมาณ 150 หน้า อันอาจถือได้ว่าเป็นงานบางตอนก็ตาม แต่ปรากฏว่าการนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์มาบางตอนดังกล่าวล้วนเป็นส่วนของเนื้อหาสาระที่สำคัญ และมีปริมาณงานเป็นจำนวนมาก จึงถือได้ว่าเป็นการคัด ลอก หรือเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเกินสมควร

หนังสือ "กลยุทธ์ในการฝึกอบรม" ของจำเลยที่ 1 เป็นหนังสือคำอธิบายเกี่ยวกับการฝึกอบรม จัดอยู่ในหนังสือประเภทขนาด 8 หน้ายก ซึ่งจำเลยที่ 1 สามารถที่จะแสดงการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทำเชิงอรรถหรือกล่าวถึงเจ้าของลิขสิทธิ์ เมื่อจำเลยที่ 1 นำข้อความของงานนั้นมาเขียนไว้ในหนังสือของจำเลยที่ 1 ดังที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำแล้วในส่วนอื่น ๆ ของหนังสือดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 เพียงแต่อ้างอิงถึงชื่อโจทก์และบุคคลอื่นพร้อมงานเขียนรวม 26 รายการ ไว้ในหัวข้อเอกสารอ้างอิงที่ท้ายเล่มในกรณีเช่นนี้ ผู้อ่านย่อมไม่สามารถที่จะทราบได้ว่าข้อความส่วนใดของงานดังกล่าวเป็นงานเขียนของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1 คัดลอกมา จึงยังไม่เป็นการเพียงพอที่จะถือได้ว่าเป็นการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์ อันจะถือได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เข้าหลักเกณฑ์ประการแรกของข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เมื่อจำเลยที่ 1 จัดทำหนังสือซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกับงานที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นออกจำหน่าย จึงเป็นการแบ่งตลาดของผู้บริโภคซึ่งจะซื้อหนังสือประเภทดังกล่าวออกไปส่วนหนึ่ง อันเป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของโจทก์และกระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของโจทก์เกินสมควร การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์สองประการหลังของข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 32 วรรคหนึ่ง

***************************************

7. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445  ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้   www.สู้คดี.com 

ทนายเล่าเรื่อง กฎหมายลิขสิทธิ์เพื่อแสวงหากำไรในทางการค้าจึงจะเป็นความผิด

ฎีกาที่ 10579/2551

โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์..." ความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น "เพื่อหากำไร" เท่านั้น แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องปรากฏแต่เพียงว่า จำเลยเปิดแผ่นเอ็มพีสามและซีดีเพลงให้ลูกค้าในร้านอาหารได้ร้องและฟังเพลงของผู้เสียหาย 1 แผ่น "เพื่อประโยชน์ในทางการค้า" ขายอาหารและเครื่องดื่มของจำเลยแต่ไม่ปรากฏในคำฟ้องว่าจำเลยกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ร้องและฟังเพลงโดยเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าวหรือเรียกเก็บรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.จั้ดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185

*************************************** 

8. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445  ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้   www.ทนายใกล้คุณ.com 

ทนายเล่าเรื่อง อนุญาโตตุลาการในคดีทรัพย์สินทางปัญญา

ฎีกาที่ 2611/2562

แม้อนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายระหว่างประเทศจะมีคำชี้ขาดในวันที่ 24 กันยายน 2555 ก็ตาม แต่เมื่อกรณียังสามารถอุทธรณ์คำชี้ขาด แก้ไขข้อผิดพลาดข้อผิดหลงเล็กน้อย หรือตีความอธิบายข้อความหรือส่วนหนึ่งส่วนใดในคำชี้ขาดโดยคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ และผู้คัดค้านเองก็เป็นฝ่ายอุทธรณ์คำชี้ขาดต่อคณะกรรมการอุทธรณ์และมีหนังสือคัดค้านคำชี้ขาดของคณะกรรมการอุทธรณ์รวม 3 ครั้ง จนคณะกรรมการอุทธรณ์มีคำชี้ขาดฉบับวันที่ 28 สิงหาคม 2556 และคำชี้ขาดฉบับแก้ไขเพิ่มเติมลงวันที่ 10 ตุลาคม 2556 ดังนั้น คำชี้ขาดวันที่ 24 กันยายน 2555 จึงยังไม่มีผลผูกพันเป็นยุติอันอาจมีคำร้องขอให้บังคับตามได้ดังที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ แต่ต้องถือเอาตามคำชี้ขาดและคำชี้ขาดฉบับแก้ไขเพิ่มเติมสองฉบับหลัง เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะกรรมการอุทธรณ์ด้านเทคนิคแห่งสมาคมฝ้ายระหว่างประเทศฉบับวันที่ 28 สิงหาคม 2556 และคำชี้ขาดฉบับแก้ไขเพิ่มเติมวันที่ 10 ตุลาคม 2556 ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในวันที่ 26 สิงหาคม 2559 จึงอยู่ภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 42

สำหรับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านทำนองว่า สัญญาขายฝ้ายดิบระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านใช้เงื่อนไข "invoice back" ในอันที่จะได้รับค่าสินค้าโดยไม่ต้องส่งสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ถือเป็นข้อตกลงให้ผู้ซื้อต้องรับผิดมากกว่าที่กฎหมายกำหนดอันถือว่าเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามกฎหมายไทย การตกลงให้ใช้กฎหมายอังกฤษและอนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายระหว่างประเทศจึงเป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามกฎหมายไทย ข้อกำหนดอนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายระหว่างประเทศไม่เป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายอนุญาโตตุลาการและกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแห่งสากลเนื่องจากอนุญาโตตุลาการขาดความอิสระและเป็นกลาง กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายระหว่างประเทศเป็นกระบวนการที่ปราศจากการสืบพยานบุคคล จึงไม่มีการนำเรื่องความผิดปกติของราคาฝ้าย ที่เกิดจากการปั่นราคามาวินิจฉัย ทั้งเมื่อกระบวนการอนุญาโตตุลาการผิดพลาดโดยลงลายมือชื่อไม่ครบองค์คณะ ก็หาทางกลบเกลื่อนแก้ไขสิ่งที่ไม่ชอบให้กลับเป็นชอบ และการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการชั้นอุทธรณ์แต่งตั้งโดยประธานสมาคมฝ้ายระหว่างประเทศโดยมิได้รับความยินยอมหรือความเห็นจากคู่พิพาทนั้น เห็นว่า เป็นการอุทธรณ์เกี่ยวกับข้อกำหนดกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายระหว่างประเทศทำนองว่าไม่เป็นสากลและไม่เป็นกลาง กับโต้แย้งในเนื้อหาของสัญญาและดุลพินิจในการวินิจฉัยว่าผู้ร้องหรือผู้คัดค้านกระทำผิดสัญญาหรือไม่ ซึ่งอยู่ในอำนาจวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ อันมิใช่การโต้แย้งกรณีใดกรณีหนึ่งดังที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย

ส่วนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายระหว่างประเทศ นั้น ปรากฏว่าเงินดังกล่าวเป็นยอดรวมของเงินส่วนต่างระหว่างราคาสินค้าตามสัญญากับราคาตลาด และเงินดอกเบี้ยของเงินส่วนต่างดังกล่าวตามสัญญาซื้อขายแต่ละฉบับ อันเป็นการพิพากษาโดยให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด เนื่องจากมีการนำส่วนของดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมารวมเป็นเงินต้นในการคำนวณดอกเบี้ยต้องห้าม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดในส่วนนี้ได้ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 44 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้คัดค้านไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

***************************************

9. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445  ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้   www.สู้คดี.com 

ทนายเล่าเรื่อง ลิขสิทธิ์

ฎีกาที่ 1116/2559

พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่างานที่มีการฟ้องร้องในคดีนั้นเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ และโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว เว้นแต่จำเลยจะโต้แย้งว่าไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือโต้แย้งลิขสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือพรหมญาณพยากรณ์อันเป็นงานวรรณกรรมและไพ่พรหมญาณ 1 ชุด มี 67 ใบ อันเป็นงานศิลปกรรม และในขั้นตอนการไต่สวนมูลฟ้องจำเลยยังไม่ได้ให้การ จำเลยจึงยังไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ กรณีจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวว่าโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือและไพ่ดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงตามทางไต่สวนมูลฟ้องโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยนำไพ่อันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ไปพิมพ์โฆษณาเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ โปรแกรมไลน์ และเว็บไซต์ยูทูบ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์และเพื่อทางการค้าของจำเลย คดีโจทก์จึงมีมูลตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 และมาตรา 69 และ ป.อ. มาตรา 91

*************************************** 

10. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445  ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้   www.สู้คดี.com  

ทนายเล่าเรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา

ฎีกาที่ 1606/2561

เครื่องหมายบริการที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนและเครื่องหมายการค้าที่ ว. ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เป็นประเภทเครื่องหมายคำและเป็นคำอักษรโรมันคำว่า "EIKON" เหมือนกัน มีเสียงเรียกขานอย่างเดียวกันว่า "อิ-คอน" ถือได้ว่าคล้ายกันมาก แต่ถึงขนาดทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือบริการหรือไม่นั้น ย่อมต้องพิจารณาจากกลุ่มสาธารณชนผู้บริโภคหรือผู้รับบริการของโจทก์และผู้ใช้สินค้าของ ว. เป็นสำคัญ เมื่อโจทก์ยื่นขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับบริการจำพวกที่ 42 ส่วนเครื่องหมายการค้าของ ว. ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ใช้กับสินค้าในจำพวกที่ 9 นับได้ว่าเป็นการจดทะเบียนกันคนละประเภทและต่างจำพวกกัน รายการบริการที่โจทก์ขอจดทะเบียน คือ บริการการใช้เช่าคอมพิวเตอร์ บริการการออกแบบคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์สำหรับบุคคลอื่น เป็นต้น ส่วนรายการสินค้าที่ ว. ได้จดทะเบียนไว้แล้วคือ เครื่องควบคุมกระแสไฟฟ้า ฟิวส์ เต้าเสียบ สวิตช์ เป็นต้น อันเป็นกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า ถือได้ว่า รายการบริการและรายการสินค้าสองกลุ่มนี้มีลักษณะแตกต่างกัน กลุ่มผู้ใช้สินค้าและบริการเป็นคนละกลุ่มกัน เนื่องจากรายการบริการของโจทก์เน้นเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มผู้รับบริการของโจทก์จึงเป็นกลุ่มที่มีความรู้ความสนใจความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ และต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพ ส่วนรายการสินค้าของ ว. เป็นกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการใช้สินค้า ชีวิต และทรัพย์สินของผู้บริโภคด้วย ผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวย่อมต้องพินิจพิเคราะห์อย่างระมัดระวัง จึงมิใช่เรื่องที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดได้โดยง่าย ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแอบอิงหรือแสวงหาประโยชน์ในชื่อเสียงเกียรติคุณในเครื่องหมายการค้ากรณียังถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายบริการที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนและเครื่องหมายการค้าที่ ว. ได้จดทะเบียนไว้แล้วคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือบริการ

***************************************

11. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445  ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้   www.สู้คดี.com 

ทนายเล่าเรื่อง เจตนา ละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญา
การที่จำเลยนำแผ่นซีดีภาพยนตร์ของกลางซึ่งเป็นของเก่า และมีจำนวนเล็กน้อยเพียง 27 แผ่น ออกมาวางจำหน่ายในร้านแผงลอยปะปนกับสินค้าอื่นอย่างเปิดเผยในราคาที่ต่ำกว่าทุนมาก มิได้มีลักษณะของการค้าเพื่อการแสวงหาผลกำไร จึงมีเหตุผลที่น่าเชื่อว่าเป็นเพราะจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่า การนำเอาแผ่นซีดีภาพยนตร์เก่าออกมาจำหน่ายในลักษณะดังกล่าว มิใช่เป็นการประกอบกิจการในการจำหน่ายภาพยนตร์ซึ่งต้องได้รับอนุญาตนั่นเอง เพราะไม่มีเหตุผลใดเลยที่จำเลยจะต้องมาสุ่มเสี่ยงต่อโทษปรับในอัตราที่สูงเพียงการได้รับค่าตอบแทนที่น้อยมากเช่นนี้ ตามสภาพและพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลย ฟังได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตโดยถูกต้อง จำเลยจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำผิดก็ชอบที่ศาลฎีกาจะยกฟ้องโจทก์เสียได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225 

****************************************** 

12. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445  ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้   www.สู้คดี.com 

ทนายเล่าเรื่อง เขตอำนาจศาล

ฎีกาที่ 48/2563

อัยการศาลทหารกรุงเทพ ยื่นฟ้อง พลทหาร ณ. จำเลย ซึ่งเป็นทหารกองประจำการ สังกัด กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๔ กองพลทหารราบที่ ๔ กองทัพบก ว่าได้กระทำความผิดอาญาฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักร ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๑๐ มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารหรือศาลยุติธรรม เห็นว่า หลักการพิจารณาเขตอำนาจของศาลทหารในเวลาปกติที่ยึดหลักเขตอำนาจศาลเหนือตัวบุคคลผู้กระทำผิด ซึ่งหากปรากฏว่าจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.๒๔๙๘ ในขณะกระทำความผิดอาญา จะเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทหารตามมาตรา ๑๓แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ นั้น เป็นหลักการพิจารณาเขตอำนาจศาลทหารในกรณีที่มีการฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาทั่วไป ที่มิได้มีกฎหมายบัญญัติให้คดีอาญานั้นอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอื่นใดโดยเฉพาะ เมื่อปรากฏว่า ภายหลังจากพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ ใช้บังคับ มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.๒๕๓๙ ซึ่งมีเจตนารมณ์ให้คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศซึ่งเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีอาญาและคดีแพ่งทั่วไป ได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาซึ่งมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ โดยมีบุคคลภายนอกที่มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวเข้ามาร่วมพิจารณาและพิพากษาคดีด้วยตามเหตุผลท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยมาตรา ๗ บัญญัติว่า "ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีดังต่อไปนี้ (๑) คดีอาญาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร" อันเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีประเภทหนึ่งประเภทใดไว้โดยเฉพาะ และเป็นบทบัญญัติที่ตัดอำนาจศาลอื่นไม่ให้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร เมื่อคดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งแม้จะเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำความผิด แต่เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าโดยมีคำขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๑๐ ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ.๒๕๓๙ มาตรา ๗ บัญญัติให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะ ศาลทหารจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้

***************************************

13. มีคดีที่ศาลใหน ให้ทนายในเครือข่ายของเราช่วยท่าน ปรึกษาทนายความของเราได้ที่ 099 464 4445  ค้นหาทนายในเครือข่ายของเราได้ที่เวปไซต์นี้   www.เครือข่ายทนายความ.com  

ทนายเล่าเรื่อง คดีทรัพย์สินทางปัญญา

ฎีกาที่ 2226/2562

มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ในข้อ 2.4 ของจำเลยที่ 1 ว่า ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) นั้น เป็นคำพิพากษาที่ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของตู้เพลงคาราโอเกะหยอดเหรียญ ได้ร่วมกันนำตู้เพลงคาราโอเกะหยอดเหรียญดังกล่าวที่มีงานโสตทัศนวัสดุที่บันทึกภาพและเสียงดนตรีกรรม ทั้งร้องและทำนองเพลง ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนที่ร้านลลิตาคาราโอเกะ โดยเปิดเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายดังกล่าวผ่านทางตู้เพลงคาราโอเกะหยอดเหรียญ ทำให้ปรากฏเสียงทำนองเพลงออกทางเครื่องขยายเสียงและปรากฏภาพคำร้องทางจอโทรทัศน์ แล้วให้ลูกค้าของจำเลยทั้งสองขับร้องเพลงเผยแพร่แก่ลูกค้าภายในร้านอาหารของจำเลยที่ 1 ทั้งคำร้องและทำนอง แล้วแบ่งปันผลประโยชน์กัน อันเป็นการร่วมกันกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้าจากการเผยแพร่ต่อสาธารณชนดังกล่าว โดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าเป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย และโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 กระทำการเผยแพร่งานโสตทัศนวัสดุที่บันทึกภาพและเสียงดนตรีกรรมของผู้เสียหายต่อสาธารณชนเพื่อการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (2) และ 28 (2) และ ป.อ. มาตรา 83 แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุมาตรา 69 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ในคำขอท้ายฟ้อง แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องโดยประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 69 วรรคสอง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในข้อหานี้ได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ส่วนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อันมิใช่ความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งมีระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (2) และ 28 (2) ให้จำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนี้ จึงเป็นเพียงการปรับบทมาตราผิดเท่านั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า แต่ไม่อาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยที่ 1 ตามระวางโทษที่บัญญัติไว้ในมาตรา 69 วรรคสองได้ เพราะจะมีผลเป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้นบางส่วน

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (2) และ 28 (2) และ ป.อ. มาตรา 83 นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2562)

***************************************

14. มีปัญหาปรึกษาเรื่องครอบครัว ปรึกษาทนายคดีครอบครัว  ทนายจอย  099 152 4195   ค้นหาทนายคดีครอบครัวได้ที่เวปไซต์นี้   www.ทนายคดีครอบครัว.com 

ทนายเล่าเรื่อง การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

ฎีกาที่ 5698/2562

การที่จะพิจารณาว่าคำที่เลียนเสียงมาจากคำภาษาต่างประเทศเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงอันจะทำให้ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) นั้น นอกจากจะต้องพิจารณาว่าคำภาษาต่างประเทศดังกล่าวมีคำแปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไรแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการใช้ในประเทศไทยด้วยว่า ถูกนำมาใช้ในความหมายหรือในลักษณะใด และต้องพิจารณาต่อไปว่าคำดังกล่าวเกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงจนถึงขนาดทำให้เมื่อสาธารณชนเห็นเครื่องหมายการค้านี้แล้วสามารถทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นได้ในทันที หรืออาจใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ในทันทีว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้เห็นถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ แต่หากเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเพียงคำที่อาจสื่อให้สาธารณชนผู้ใช้สินค้าคิดหรือจินตนาการแล้วยังต้องใช้วิจารณญาณพอสมควรในการพิจารณาจึงจะเข้าใจว่าคำดังกล่าวสื่อให้ทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้น อาจถือไม่ได้ว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง จึงเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำภาษาไทย ไม่มีความหมายตามพจนานุกรม คำดังกล่าวพ้องเสียงกับคำภาษาอังกฤษที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้นคำว่า "INTOUCH" ซึ่งเป็นคำผสมระหว่างคำว่า IN แปลว่า ใน ข้างใน และคำว่า TOUCH แปลว่า สัมผัส แตะต้อง ซึ่งสามารถแปลได้หลายความหมาย โดยไม่ปรากฏหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าเหตุใดนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงเลือกแปลความหมายของคำดังกล่าวเช่นนั้น ประกอบกับการให้ความหมายของคำว่า IN TOUCH ก็เป็นในลักษณะของการสื่อความหมาย ไม่ใช่ความหมายโดยตรง การนำคำว่า IN และคำว่า TOUCH มารวมกันจึงไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่ามีความหมายอย่างไร และแม้ตามพจนานุกรมดังกล่าวจะให้ความหมายของคำว่า Be in touch แปลว่า ติดต่อ แต่การติดต่อนั้นมีได้หลายรูปแบบ ทั้งการพบปะ พูดคุย หรือการติดต่อทางลายลักษณ์อักษร สาธารณชนในประเทศไทยเมื่อเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้วย่อมไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีหรือใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็ไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าประเภทหรือชนิดใด การใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ย่อมถือได้ว่าเป็นการใช้ในลักษณะที่ทำให้สาธารณชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของบุคคลอื่น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้

***************************************

15. อยู่ต่างจังหวัด ปรึกษาทนายความในจังหวัดของคุณ 099 464 4445  ค้นหาทนายความในจังหวัดของคุณได้ที่เวปไซต์นี้: www.ทนายใกล้คุณ.com 

ทนายเล่าเรื่อง คืนค่าธรรมเนียมศาลส่วนที่ชำระเกิน

ฎีกาที่ 5723/2562

ตาม พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ.2497 มาตรา 32 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า "ใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานเป็นอันใช้ไม่ได้ เมื่อ ...(1)...มีการเปลี่ยนแปลงสิทธิครอบครองอากาศยานนั้นในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองเป็นผู้จดทะเบียน..." และมาตรา 32 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณี (1) ถึง (5) ให้ผู้จดทะเบียนอากาศยานนั้นส่งคืนใบสำคัญการจดทะเบียนแก่พนักงานเจ้าหน้าที่โดยไม่ชักช้า" ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าอากาศยานทั้ง 2 ลำ โดยชอบ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบอากาศยานทั้ง 2 ลำ คืนแก่โจทก์ พร้อมทั้งส่งคืนใบสำคัญการจดทะเบียนแก่พนักงานเจ้าหน้าที่และใบสำคัญการจดทะเบียนเป็นอันใช้ไม่ได้โดยผลของบทบัญญัติดังกล่าว โดยที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหาจำต้องพิพากษาให้จำเลยถอนการจดทะเบียนอากาศยานพิพาททั้ง 2 ลำ ไม่

อนึ่ง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 15,464,961.36 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยชำระค่าขาดประโยชน์เป็นเงิน 760,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อเดือน นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะส่งมอบอากาศยานและเอกสารอากาศยานคืนแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์จึงเป็นจำนวน 15,464,961.36 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อขณะยื่นฟ้องคดีต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโจทก์บรรยายฟ้องโดยคิดทุนทรัพย์ในอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 32.9610 บาท ซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งอัตราแลกเปลี่ยนตามคำฟ้องโจทก์ ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงต้องคิดคำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ในขณะฟ้องคดีดังกล่าว การที่จำเลยอุทธรณ์โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันยื่นอุทธรณ์ในอัตรา 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 33.5258 บาท และนำเงินค่าขาดประโยชน์ตามคำพิพากษาจำนวน 760,000 ดอลลาร์สหรัฐ มารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ และเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 693,954 บาท จึงไม่ถูกต้อง ให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่ชำระเกินมานั้นแก่จำเลย

***************************************

16. อยู่ต่างจังหวัด ปรึกษาทนายความในจังหวัดของคุณ 099 464 4445  ค้นหาทนายความในจังหวัดของคุณได้ที่เวปไซต์นี้: www.ทนายใกล้คุณ.com 

ทนายเล่าเรื่อง ร้านคาราโอเกะต้องใส่ใจ

ฎีกาที่ 5715/2562

ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้ประกอบการร้านคาราโอเกะ แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยมิได้อยู่ในร้าน แต่จำเลยในฐานะเจ้าของร้านซึ่งประกอบกิจการร้านคาราโอเกะย่อมมีหน้าที่ต้องตรวจตราดูแลและควบคุมการดำเนินกิจการของร้านให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและไม่ผิดกฎหมาย การที่จำเลยเป็นผู้ติดต่อให้เจ้าของตู้เพลงคาราโอเกะหยอดเหรียญที่มีงานเพลงซึ่งได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายมาติดตั้งที่ร้านคาราโอเกะของจำเลย จำเลยย่อมอยู่ในวิสัยที่จะตรวจสอบได้ว่างานเพลงที่ติดตั้งในหน่วยความจำของตู้เพลงคาราโอเกะหยอดเหรียญดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายหรือไม่ จำเลยจึงรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานดังกล่าวทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อมีการเปิดเพลงดังกล่าวจากตู้เพลงคาราโอเกะหยอดเหรียญโดยแบ่งปันผลประโยชน์กัน จึงเป็นความผิดสำเร็จ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนในงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายเพื่อหากำไรอันเป็นการกระทำเพื่อการค้า

***************************************

17. อยู่ต่างจังหวัด ปรึกษาทนายความในจังหวัดของคุณ 099 464 4445  ค้นหาทนายความในจังหวัดของคุณได้ที่เวปไซต์นี้: www.ทนายใกล้คุณ.com 

ทนายเล่าเรื่อง โต้แย้งนายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

ฎีกาที่ 635/2562

ที่โจทก์ฎีกาว่า เครื่องหมายการค้า Green Leaf ของโจทก์เป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้หรือไม่นั้น เห็นว่า เมื่อตรวจสอบพจนานุกรมออกซฟอร์ด-ริเวอร์บุ๊คส์ อังกฤษ-ไทย ปรากฏความหมายคำว่า Green ว่า หมายถึง สีเขียว และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับคำว่า leaf มีความหมายว่า ใบไม้ แผ่นกระดาษ (ถ้าใช้กับกระดาษ หรือ of paper) กระดาษแผ่นหนึ่ง ส่วนพจนานุกรม Cambridge Learner's Dictionary ฉบับอังกฤษ-อังกฤษ ที่โจทก์อ้างส่งนั้น ก็ให้ความหมายคำว่า leaf ว่า "a sheet of paper, especially a page in a book" แปลเป็นภาษาไทยว่า "แผ่นกระดาษ โดยเฉพาะหน้ากระดาษในหนังสือ" เมื่อรวมกันย่อมมีความหมายว่า กระดาษที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบกับโจทก์นำสืบว่า ช่วงปี 2550 เกิดกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งในและต่างประเทศ โจทก์จึงมีนโยบายและแผนการตลาดที่จะจัดจำหน่ายสินค้าตอบรับกระแสดังกล่าว จึงคิดค้นเครื่องหมายการค้า Green leaf สำหรับใช้กับสินค้ากระดาษเพื่อให้สาธารณชนเห็นว่าผลิตภัณฑ์กระดาษของโจทก์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งยังมีรูปลูกโลกประกอบในตัวอักษรโรมัน G และใบไม้สีเขียวหลังตัวอักษรโรมัน L ซึ่งย่อมสื่อความหมายได้ถึงสิ่งแวดล้อม เมื่อนำไปใช้กับสินค้ากระดาษถ่ายเอกสารแล้ว คำว่า Green leaf ย่อมเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า คำว่า Green leaf เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) นั้น ชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ไม่เป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ฎีกา

***************************************

18. อยู่กรุงเทพ ปรึกษาทนายกรุงเทพ 099 464 4445  ค้นหาทนายความได้ที่เวปไซต์นี้: www.ทนายกรุงเทพ.com 

ทนายเล่าเรื่อง ฎีกาเพียงแค่ว่าตัวเองมีสิทธิดีกว่าผลเป็นอย่างไร

ฎีกาที่ 633/2562

ฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยที่ 1 นั้น ไม่เป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ฎีกา

*************************************** 

19. มีคดีที่ศาลใหน ให้ทนายในเครือข่ายของเราช่วยท่าน ปรึกษาทนายความของเราได้ที่ 099 464 4445  ค้นหาทนายในเครือข่ายของเราได้ที่เวปไซต์นี้   www.เครือข่ายทนายความ.com  

ทนายเล่าเรื่อง เครื่องหมายการค้า

ฎีกาที่ 7007/2562

โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 2.1 ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเครื่องดื่มชื่อผลิตภัณฑ์ "ชารสเก๊กฮวยพร้อมดื่มตรา Manobu" แล้วบรรจุในขวดพลาสติกและมีฉลากปรากฏเครื่องหมายรับรองฮาลาลที่โจทก์เคยอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้ อันเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรองฮาลาลของโจทก์ เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ของจำเลยทั้งสองดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล จากโจทก์ และบรรยายฟ้องในข้อ 2.2 แต่เพียงว่า ภายหลังจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดดังกล่าว จำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าชื่อผลิตภัณฑ์ "ชารสเก๊กฮวยพร้อมดื่มตรา Manobu" ที่มีเครื่องหมายรับรองฮาลาลปลอมตามฟ้องข้อ 2.1 โดยโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องระบุให้ชัดเจนว่า เครื่องหมายรับรองที่จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอม และสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองปลอมที่จำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายมีจำนวนเท่าใด กรณีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองว่า การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรอง และจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองปลอมดังกล่าว เป็นการกระทำโดยมีจำนวนเครื่องหมายรับรองที่จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมขึ้น กับจำนวนเครื่องหมายรับรองปลอมที่ปรากฏอยู่บนสินค้าที่จำเลยทั้งสองร่วมกันนำออกจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกัน ประกอบกับตามฟ้องของโจทก์ระบุว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรองและนำออกจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองปลอมในช่วงเวลาเดียวกัน คือ ระหว่างวันที่ 9 ตุลาคม 2550 เวลากลางวัน จนถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2557 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรองและร่วมกันนำสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองปลอมดังกล่าวออกจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

*************************************** 

20. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445  ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้   www.ทนายใกล้คุณ.com 

ทนายเล่าเรื่อง ปลอมเครื่องหมายการค้า

ฎีกาที่ 5699/2562

โจทก์บรรยายฟ้อง ข้อ (ก) ว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายทั้งสอง โดยนำน้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันเครื่องจากแหล่งผลิตอื่นมาบรรจุในกระป๋องน้ำมันและขวดน้ำมัน ซึ่งเป็นภาชนะผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายทั้งสองที่จำเลยทั้งห้าร่วมกันทำปลอมขึ้นดังกล่าว แล้วปิดผนึกฝากระป๋องหรือฝาขวดด้วยเครื่องผนึกอลูมิเนียม แล้วนำไปบรรจุใส่กล่องหรือลังกระดาษจนสำเร็จเป็นสินค้าน้ำมันหล่อลื่นที่มีเครื่องหมายการค้ายี่ห้อเวลลอย ซุปเปอร์ทู ที โลวส์โม๊ค ขนาด 0.5 ลิตร จำนวน 1,824 ขวด น้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อฮาโวลีน ขนาดบรรจุ 0.5 ลิตร จำนวน 40 ขวด และมีสติกเกอร์ยี่ห้อฮาโวลีนจำนวน 4,800 แผ่น แผ่นฟอยล์ปั๊มปิดฝาขวดยี่ห้อคาร์ลเท็กซ์จำนวน 5,000 แผ่น สติกเกอร์ยี่ห้อคาร์ลเท็กซ์จำนวน 300 แผ่น ใบปะหน้าสินค้ายี่ห้อเวลลอยจำนวน 300 แผ่น ฟอยล์ปั๊มปิดฝาขวดน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อเวลลอยจำนวน 1,000 ชิ้น ฝาปิดขวดน้ำมันเครื่องยี่ห้อเวลลอยสีแดงจำนวน 15,000 ฝา ขวดเปล่าน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อเวลลอยสีแดงจำนวน 2,220 ขวด ขวดเปล่าน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อฮาโวลีนสีดำจำนวน 100 ขวด ขวดเปล่าน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อเวลลอยสีขาวจำนวน 50 ขวด กล่องกระดาษบรรจุสินค้ายี่ห้อเวลลอยจำนวน 80 ใบ กล่องกระดาษบรรจุสินค้ายี่ห้อฮาโวลีนจำนวน 115 ใบ ฉลากปิดขวดน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อเวลลอย 2T ภาษาอังกฤษจำนวน 1,050 แผ่น ฉลากปิดขวดน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อเวลลอย ภาษาไทยจำนวน 30,000 แผ่น ภายใต้เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายทั้งสองที่จำเลยทั้งห้าทำปลอมขึ้นเพื่อจำหน่าย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายทั้งสอง และโดยจำเลยทั้งห้ารู้อยู่แล้วว่าเป็นการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายทั้งสอง เพื่อให้ผู้อื่นหรือประชาชนทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าและเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายทั้งสอง และขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 และมาตรา 110 ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 และฐานร่วมกันมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 ไว้ครบถ้วนแล้ว และประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานดังกล่าวด้วย เมื่อจำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งห้ามีความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่ลงโทษจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 นั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่เห็นพ้องด้วย

***************************************

21. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445  ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้   www.สู้คดี.com 

ทนายเล่าเรื่อง เหตุที่นายทะเบียนไม่รับจดเครื่องหมายการค้า

ฎีกาที่ 4326/2561

"" เป็นเครื่องหมายการค้าที่ประกอบด้วยภาคส่วนอักษรโรมัน "W" และภาคส่วนคำภาษาอังกฤษว่า "HOTELS" โดยคำว่า "HOTELS" เป็นคำธรรมดาที่มีความหมายปรากฏในพจนานุกรมและเป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าหมายถึง โรงแรม สำหรับภาคส่วนอักษรโรมัน "W" วางอยู่ตรงกลางของเครื่องหมายการค้า มีขนาดใหญ่กว่าภาคส่วนคำว่า "HOTELS" มาก หากมองภาพรวมของเครื่องหมายการค้าจะเห็นตัวอักษร "W" เด่นชัดกว่าภาคส่วนคำว่า "HOTELS" มาก ถือได้ว่า ภาคส่วน "W" เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้านี้ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบอักษร "W" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับตัวอักษรโรมันดับเบิลยูในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีการใช้อยู่ทั่วไปแล้ว แทบไม่พบความแตกต่างจากตัวอักษรดับเบิลยูตัวพิมพ์ใหญ่ธรรมดา จึงไม่อาจถือว่าอักษร "W" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวหนังสือที่ประดิษฐ์ขึ้นอันจะมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (3) (เดิม) ประกอบกับภาคส่วน "W" ที่เป็นสาระสำคัญนั้น เป็นส่วนเครื่องหมายการค้าที่เป็นตัวหนังสือ ไม่ใช่ส่วนที่เป็นคำหรือข้อความตามมาตรา 7 วรรคสอง (1) หรือ (2) (เดิม) ที่อาจพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้ได้ตามมาตรา 7 วรรคสาม (เดิม) จึงไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในเรื่องการใช้เครื่องหมายการค้าแต่อย่างใด ดังนี้ เมื่ออักษร "W" ในเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ทั้งสามคำขอถือเป็นส่วนสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้า แต่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ อันไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนตามมาตรา 6 ถือว่าเครื่องหมายการค้า "" ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียน เป็นเหตุต้องปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ ดังกล่าว

*************************************** 

22. We provide legal consulting, services and litigation in any lefal fields visit our website. www.lawyerhelpme.com

ทนายเล่าเรื่อง เครื่องหมายการค้า

ฎีกาที่ 992/2561

เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า "T-TOUCH" แม้โจทก์จะแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้อักษร "T" แต่ก็เป็นเพียงทำให้โจทก์ไม่อาจใช้อักษรดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น มิได้ตัดอักษรดังกล่าวออกจากเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ดังกล่าวมีอักษร "T" อยู่หน้าคำว่า "TOUCH" โดยมีเครื่องหมายยัติภังค์คั่นและขนาดของตัวอักษรเท่ากัน อักษร "T" จึงไม่ใช่ส่วนปลีกย่อยของเครื่องหมาย การพิจารณารูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ต้องพิจารณาอักษรโรมันคำว่า "T-TOUCH" ทั้งคำ เมื่อเปรียบเทียบกับรูปลักษณะเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นซึ่งเป็นอักษรโรมันคำว่า "TOUCH MAGAZINE" แล้วมีความแตกต่างกัน โดยคำว่า "MAGAZINE" มีขนาดเล็กจัดวางในแนวตั้งติดกับอักษร "H" โดยเน้นสาระสำคัญของคำว่า "TOUCH" แม้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์มีคำว่า "TOUCH" เช่นเดียวกัน แต่คำดังกล่าวเป็นคำในภาษาอังกฤษซึ่งปรากฏความหมายในพจนานุกรมและเป็นคำที่บุคคลทั่วไปสามารถใช้เป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการได้เพราะมีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองหากคำนั้นมิได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นโดยตรง บุคคลที่นำคำดังกล่าวมาจดทะเบียนก่อนไม่มีสิทธิหวงกันมิให้บุคคลอื่นใช้คำดังกล่าวได้ เพียงแต่บุคคลที่จะใช้คำดังกล่าวเป็นส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าของตนในภายหลังจะต้องทำให้เครื่องหมายการค้านั้นมีลักษณะแตกต่างออกไปจากเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดได้ คำว่า "T-TOUCH" ของโจทก์จึงมีความแตกต่างจากคำว่า "TOUCH" ซึ่งเป็นภาคส่วนที่สำคัญของเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว สำหรับเสียงเรียกขานนั้น คำว่า "T-TOUCH" ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ เป็นคำเดียวกันโดยออกเสียงเรียกขานเป็นสองพยางค์ว่า ที ทัช ส่วนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ออกเสียงเรียกขานเป็นสี่พยางค์ว่า ทัช แม็ก กา ซีน แม้อาจมีผู้ออกเสียงสั้นๆ เป็นพยางค์เดียวว่า ทัช ก็ยังคงแตกต่างจากเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ ประกอบกับโจทก์ประกอบธุรกิจด้านการเงินและการลงทุน การให้บริการข่าว ข้อมูล คำแนะนำ บทวิจารณ์ และบทวิเคราะห์ ย่อมเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุนโดยเฉพาะ กลุ่มผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องจึงเป็นผู้ประกอบอาชีพด้านการเงินและการลงทุน หรือผู้ที่มีความสนใจในเรื่องดังกล่าว อีกทั้งช่องทางการเผยแพร่หรือให้บริการของโจทก์กระทำในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์มิใช่หนังสือ ส่วนลักษณะการประกอบธุรกิจของบุคคลผู้ได้รับการจดทะเบียนไว้แล้วเป็นธุรกิจบันเทิง กลุ่มผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องได้แก่บุคคลทั่วไปที่รับชม รับฟังรายการ หรือเข้าร่วมกิจกรรมที่บุคคลที่ได้รับการจดทะเบียนจัดขึ้นบริเวณสยามสแควร์ รวมถึงผู้อ่าน "TOUCH MAGAZINE" ดังนั้นกลุ่มผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับบริการของโจทก์ และของบุคคลผู้ได้รับการจดทะเบียน จึงเป็นกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และแม้โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 16 เช่นเดียวกับบุคคลที่ได้รับการจดทะเบียน แต่เมื่อพิจารณารายการสินค้าของโจทก์แล้ว สินค้าของโจทก์เป็นสิ่งพิมพ์ เอกสาร และจดหมายข่าวที่จำกัดเฉพาะเรื่องการเงินเท่านั้น เมื่อกลุ่มผู้บริโภคของโจทก์เป็นผู้ประกอบอาชีพด้านการเงินและการลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจในเรื่องดังกล่าว ซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับผู้บริโภคของบุคคลผู้ได้รับการจดทะเบียน ดังนั้น ผู้บริโภคหรือสาธารณชนที่เกี่ยวข้องย่อมสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสินค้าของโจทก์และของบุคคลผู้ได้รับการจดทะเบียนได้โดยง่าย เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือบริการหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือบริการ

 

***************************************

23. find a real lawyer in thailand at our website www.thailandlawyer.info

ทนายเล่าเรื่อง เครื่องหมายการค้า

ฎีกาที่ 2828/2561

แม้เครื่องหมายการค้าคำว่า "DULUX INSPIRE" ที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้จะแบ่งออกได้เป็น 2 ภาคส่วน สำหรับภาคส่วนคำว่า "DULUX" นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่มีข้อโต้แย้งเรื่องการมีลักษณะบ่งเฉพาะในตนเองแล้วของคำดังกล่าว ส่วนภาคส่วนคำว่า "INSPIRE" นั้นแม้จะเป็นคำภาษาต่างประเทศแต่ก็เป็นคำธรรมดาทั่วไปที่ปรากฏความหมายของคำตามพจนานุกรมว่าคำว่า "INSPIRE" มีความหมายหนึ่งว่า กระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยม แต่คำภาษาต่างประเทศที่มีความหมายตามพจนานุกรมจะเป็นคำที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะเพราะเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่าความหมายของคำที่ประกอบเป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทำให้ผู้ใช้สินค้าสามารถทราบได้ทันทีหรือไม่ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าใด หากเป็นเครื่องหมายซึ่งเป็นคำที่มีความหมายเป็นการบรรยายถึงลักษณะของสินค้าซึ่งทำให้ผู้ใช้สินค้าสามารถทราบได้ทันทีว่าเป็นเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าใด จึงจะถือว่าเป็นเครื่องหมายที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง ในขณะที่เครื่องหมายที่มีความหมายเป็นการบรรยายถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นทางอ้อม ผู้ใช้สินค้าต้องใช้ความคิดและจินตนาการหรือแปลความหมายที่ซ้ำซ้อนกันนั้นอีกชั้นหนึ่งก่อนจึงจะรู้ว่าเป็นเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าใด แม้อาจเป็นเครื่องหมายที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าก็เป็นไปโดยทางอ้อม หาใช่เป็นเครื่องหมายที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงไม่ เมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า "INSPIRE" ที่ปรากฏตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบกล่าวอ้างดังกล่าว คือ กระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยม ประกอบกับรายการสินค้าที่โจทก์นำคำว่า "INSPIRE" ไปใช้ คือ สีทา สีทาด้วยลูกกลิ้ง สีพ่น น้ำมันชักเงา แลกเกอร์ สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ และสารทำให้เกิดสี ซึ่งทั้งหมดใช้เป็นสารเติมใส่แลกเกอร์ สารกันสนิม สารป้องกันการเสื่อมสภาพของไม้ สารที่เตรียมขึ้นใช้ทารองพื้นในลักษณะของสี สีแต้ม/ย้อมไม้ ยางเรซินธรรมชาติ(ยางมัสติก) สีโป๊ว สี น้ำมันชักเงา หรือแลกเกอร์ในลักษณะแผ่นปะติดที่สามารถย้ายตำแหน่งใหม่ได้ คำว่า "INSPIRE" ดังกล่าวไม่ได้มีความหมายที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติของสินค้าของโจทก์โดยตรงว่าเป็นสินค้าที่เมื่อผู้บริโภคใช้แล้วจะเกิดการกระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมได้แต่อย่างใด ที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยอุทธรณ์ว่า คำว่า "INSPIRE" เมื่อนำมาใช้กับรายการสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนดังกล่าวแล้วจะทำให้เข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านี้เป็นสินค้าที่ยอดเยี่ยมนั้น เป็นการใช้จินตนาการเกินเลยไปกว่าความหมายที่ปรากฏของคำดังกล่าว และแม้คำดังกล่าวจะเป็นคำที่โน้มน้าวจูงใจให้สาธารณชนทั่วไปเข้าใจ ใช้ความคิดจินตนาการต่อเนื่องกันไปได้ว่า สินค้าที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะเป็นสินค้าที่กระตุ้นหรือมีอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมได้ ก็เป็นการใช้จินตนาการตีความหมายถ้อยคำที่ซับซ้อนให้โยงเกี่ยวข้องถึงสินค้าในทางอ้อม มิได้เป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนโดยตรง คำว่า "INSPIRE" จึงเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะแล้ว เมื่อนำคำว่า "INSPIRE" มาใช้ประกอบกับคำว่า "DULUX" เป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "DULUX INSPIRE" ในลักษณะที่ไม่มีคำใดเป็นจุดเด่นกว่าคำใด ทั้งสองคำจึงเป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย แม้คำว่า "INSPIRE" จะเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าด้วย แต่เมื่อวินิจฉัยแล้วว่าคำดังกล่าวเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะเครื่องหมายการค้าคำว่า "DULUX INSPIRE" จึงมิใช่เครื่องหมายการค้าที่มีเครื่องหมายส่วนหนึ่งส่วนใดอันเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายที่ไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียน และเมื่อคำว่า "INSPIRE" เป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ประกอบกับไม่ปรากฏว่าคำว่า "INSPIRE" เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จึงไม่จำต้องให้โจทก์แสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำว่า "INSPIRE" ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองที่ว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า "DULUX INSPIRE" ตามคำขอจดทะเบียนคำขอนี้ของโจทก์มีลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้หรือไม่อีกต่อไป

 

***************************************

24. มีปัญหาปรึกษาทนายภูวงษ์ 081 803 4097  อยากปรึกษาหรือหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์นี้ www.ทนายภูวงษ์.com

ทนายเล่าเรื่อง การขอคืนค่าธรรมเนียมศาล

ฎีกาที่ 4225/2561

ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคสอง กำหนดให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการเท่านั้นที่สามารถฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ แต่ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันจงใจกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยมีหนังสือแจ้งมายังบริษัท ส. ห้ามจำหน่ายและให้จัดเก็บชิ้นส่วนสิ่งก่อสร้าง (ไม้บัว) โดยอ้างถึงการที่บริษัท ส. เป็นเจ้าของสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งออกไปโดยไม่ชอบดังกล่าว และยังดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โจทก์ในฐานะรองประธานฝ่ายบริหารของบริษัท ส. ต้องได้รับผลกระทบต่อสิทธิเกี่ยวกับการวางแผนการตลาด การสั่งนำเข้าสินค้าแต่ไม่สามารถดำเนินการได้ ทำให้สูญเสียโอกาสในการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นต้องขาดประโยชน์ที่ควรได้รับ เห็นได้ว่าข้ออ้างตามคำฟ้องล้วนเป็นการอ้างถึงส่วนได้เสียของบริษัท ส. ซึ่งโจทก์เป็นผู้บริหารและผู้ถือหุ้นเท่านั้น โจทก์มิได้มีส่วนได้เสียโดยตรงจากสิทธิบัตรดังกล่าว แม้โจทก์จะถูกจำเลยทั้งสองดำเนินคดีอาญาที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่ก็เนื่องมาจากเหตุที่โจทก์เป็นผู้บริหารบริษัท ดังนี้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคสองได้ เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนนี้ กรณีจึงไม่จำต้องพิจารณาว่าฟ้องในส่วนนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ทป.121/2558 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหรือไม่อีก

สำหรับคำฟ้องโจทก์ในส่วนที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์และขอให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือไม่นั้น ปรากฏว่าในคดีดังกล่าวบริษัท ส. ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดต่อบริษัทดังกล่าวเป็นเหตุให้บริษัทดังกล่าวได้รับความเสียหาย ส่วนคดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์ในคดีนี้จะเป็นกรรมการบริหารและผู้ถือหุ้นของบริษัท ส. แต่ก็เป็นคนละบุคคลกันกับบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก และแม้คดีนี้โจทก์จะอ้างว่าได้รับความเสียหายในฐานะผู้ถือหุ้นและในฐานะกรรมการบริหารของบริษัท ส. แต่ความเสียหายดังกล่าวก็เป็นความเสียหายในส่วนของโจทก์เอง มิใช่ความเสียหายของบริษัท ส. แต่อย่างใด ประเด็นแห่งคดีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยและมีคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าว กับคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับข้อหาละเมิดในคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกัน และไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าวแล้วมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง โดยยังมิได้ให้คู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความเสียก่อนนั้น ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ปรากฏเหตุที่ศาลดังกล่าวมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา กรณีมีเหตุอันสมควรที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลดังกล่าวสืบพยานหลักฐานของคู่ความให้สิ้นกระแสความ แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

อนึ่ง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่ามีเหตุผลเพียงพอที่ไม่ต้องไต่สวนคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งพอแปลได้ว่าเป็นคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วจึงมีคำพิพากษานั้น ถือได้ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี อันมีผลเป็นการวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีแล้ว จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะคืนค่าขึ้นศาลแก่โจทก์ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้คืนค่าขึ้นศาลเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

 

***************************************

25. มีปัญหาปรึกษาเรื่องครอบครัว ปรึกษาทนายคดีครอบครัว  ทนายจอย  099 152 4195   ค้นหาทนายคดีครอบครัวได้ที่เวปไซต์นี้   www.ทนายคดีครอบครัว.com

ทนายเล่าเรื่อง เครื่องหมายการค้า

ฎีกาที่ 1606/2561

เครื่องหมายบริการที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนและเครื่องหมายการค้าที่ ว. ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เป็นประเภทเครื่องหมายคำและเป็นคำอักษรโรมันคำว่า "EIKON" เหมือนกัน มีเสียงเรียกขานอย่างเดียวกันว่า "อิ-คอน" ถือได้ว่าคล้ายกันมาก แต่ถึงขนาดทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือบริการหรือไม่นั้น ย่อมต้องพิจารณาจากกลุ่มสาธารณชนผู้บริโภคหรือผู้รับบริการของโจทก์และผู้ใช้สินค้าของ ว. เป็นสำคัญ เมื่อโจทก์ยื่นขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับบริการจำพวกที่ 42 ส่วนเครื่องหมายการค้าของ ว. ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ใช้กับสินค้าในจำพวกที่ 9 นับได้ว่าเป็นการจดทะเบียนกันคนละประเภทและต่างจำพวกกัน รายการบริการที่โจทก์ขอจดทะเบียน คือ บริการการใช้เช่าคอมพิวเตอร์ บริการการออกแบบคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์สำหรับบุคคลอื่น เป็นต้น ส่วนรายการสินค้าที่ ว. ได้จดทะเบียนไว้แล้วคือ เครื่องควบคุมกระแสไฟฟ้า ฟิวส์ เต้าเสียบ สวิตช์ เป็นต้น อันเป็นกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า ถือได้ว่า รายการบริการและรายการสินค้าสองกลุ่มนี้มีลักษณะแตกต่างกัน กลุ่มผู้ใช้สินค้าและบริการเป็นคนละกลุ่มกัน เนื่องจากรายการบริการของโจทก์เน้นเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มผู้รับบริการของโจทก์จึงเป็นกลุ่มที่มีความรู้ความสนใจความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ และต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพ ส่วนรายการสินค้าของ ว. เป็นกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการใช้สินค้า ชีวิต และทรัพย์สินของผู้บริโภคด้วย ผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวย่อมต้องพินิจพิเคราะห์อย่างระมัดระวัง จึงมิใช่เรื่องที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดได้โดยง่าย ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแอบอิงหรือแสวงหาประโยชน์ในชื่อเสียงเกียรติคุณในเครื่องหมายการค้ากรณียังถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายบริการที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนและเครื่องหมายการค้าที่ ว. ได้จดทะเบียนไว้แล้วคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือบริการ

 

*************************************** 

26. อยู่ต่างจังหวัด ปรึกษาทนายความในจังหวัดของคุณ 099 464 4445  ค้นหาทนายความในจังหวัดของคุณได้ที่เวปไซต์นี้: www.ทนายใกล้คุณ.com

ทนายเล่าเรื่อง เครื่องหมายการค้า

ฎีกาที่ 936/2561

เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "A380" เป็นการนำเอาตัวอักษรโรมัน 1 ตัว คือ A และตัวเลขอาระบิกอีก 3 ตัว มาเรียงต่อกันเป็นลักษณะของกลุ่มตัวอักษรและตัวเลข โดยมีแนวคิดจากการนำตัวอักษร A ซึ่งมีที่มาจากอักษรโรมันคำว่า "AIRBUS" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในชื่อเต็มของนิติบุคคลโจทก์ (แอร์บัส โอเปอร์เรชั่น จีเอ็มบีเอช) ซึ่งแม้จะเป็นการนำมาวางเรียงต่อกันในลักษณะธรรมดาทั่วไปโดยมิได้สร้างให้มีลักษณะพิเศษ แต่ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (3) บัญญัติให้เฉพาะแต่กลุ่มของสีเท่านั้นที่ต้องแสดงลักษณะพิเศษ ไม่รวมถึงตัวหนังสือหรือตัวเลข หรือคำที่ประดิษฐ์ขึ้น ดังนั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "A380" ที่ขอจดทะเบียนดังกล่าว จึงไม่จำต้องเป็นกลุ่มคำตัวหนังสือ หรือตัวเลขที่ประดิษฐ์ขึ้นซึ่งต้องแสดงโดยลักษณะพิเศษด้วยแต่อย่างใด เมื่อเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้น โจทก์เป็นผู้คิดประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับรายการสินค้า เครื่องเล่นเกม ของเล่น อุปกรณ์ยิมนาสติกและอุปกรณ์กีฬา ยานพาหนะจำลองย่อส่วน ยานพาหนะของเล่น เครื่องร่อนชูชีพ เกมปริศนา ไพ่ ในจำพวกที่ 28 ของโจทก์ ประชาชนผู้บริโภคย่อมสามารถทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์แตกต่างไปจากสินค้าอื่น ตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง เครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าว จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้

 

***************************************

27. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445  ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้   www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง เครื่องหมายการค้า

ฎีกาที่ 2992/2561

เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียน 2 รายการ ประกอบด้วยรูปประดิษฐ์รูปหัวใจและคำว่า "Misty Mynx" ซึ่งเป็นคำอักษรโรมันสองคำประกอบกัน สำหรับคำว่า "Misty" เป็นคำธรรมดาทั่วไป มีความหมายปรากฏตามพจนานุกรมว่า ที่ปกคลุมไปด้วยหมอก คลุมเครือ พร่ามัว เลือนลาง จึงไม่เป็นคำที่สร้างความแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าอื่นได้ดี ส่วนคำว่า "Mynx" เป็นคำที่ไม่มีความหมายปรากฏในพจนานุกรม จึงเป็นส่วนที่สร้างความแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าอื่นได้ดีกว่าส่วนคำว่า "Misty" ย่อมมีเหตุผลให้เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีรูปประดิษฐ์รูปหัวใจและอักษรโรมันคำว่า "Mynx" เป็นสาระสำคัญ ส่วนคำว่า "Misty" ไม่ใช่ส่วนสาระสำคัญ ส่วนการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วดังกล่าวคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาภาคส่วนของเครื่องหมายการค้าโดยรวมทุกภาคส่วนของเครื่องหมายการค้า ดังนั้นจึงต้องนำรูปประดิษฐ์รูปหัวใจและคำว่า "Mynx" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และคำว่า "Morning" ในเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมารวมพิจารณาเปรียบเทียบความคล้ายของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เพราะทุกภาคส่วนล้วนต้องรวมกันจึงเป็นเครื่องหมายการค้าตามที่ขอจดทะเบียนมิใช่พิจารณาแยกเฉพาะส่วนที่เป็นสาระสำคัญเท่านั้น ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรูปลักษณะเครื่องหมายและการประดิษฐ์ตัวอักษรในเครื่องหมายการค้าของโจทก์เปรียบเทียบกับรูปลักษณะเครื่องหมายและลักษณะการประดิษฐ์ตัวอักษรในเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนั้น เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ประกอบไปด้วย 2 ภาคส่วน คือ ภาคส่วนบนสุดเป็นรูปประดิษฐ์รูปหัวใจและภาคส่วนล่างสุดเป็นอักษรโรมันคำว่า "Misty Mynx" นอกจากนี้ เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนอีก 2 รายการ เป็นอักษรโรมันสองคำประกอบกัน คือ คำว่า "Misty" และคำว่า "Mynx" โดยอยู่ในระนาบเดียวกัน ส่วนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนั้น ประกอบด้วยอักษรโรมันสองคำ คือคำว่า "MISTY" และคำว่า "MORNING" โดยคำว่า "MISTY" อยู่ด้านบนและมีขนาดใหญ่กว่าคำว่า "MORNING" ซึ่งเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วดังกล่าวมีความแตกต่างกันเป็นที่เห็นได้ชัดเจนหลายประการ ตั้งแต่รูปร่างโดยรวมของทุกภาคส่วนในแต่ละเครื่องหมาย รูปประดิษฐ์ ตัวอักษรที่ใช้และลักษณะการวางตัวอักษร ล้วนแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และเมื่อพิจารณาในส่วนเสียงเรียกขานตามคำที่ปรากฏในเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการค้าของโจทก์อาจเรียกขานได้ว่า "มิส-ตี้-มิ้งซ์" ส่วนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วอาจเรียกขานได้ว่า "มิส-ตี้-มอร์-นิ่ง" ซึ่งแม้มีคำเรียกขานว่า "มิส-ตี้" คล้ายกันส่วนหนึ่ง แต่เสียงเรียกขานโดยรวมก็แตกต่างกัน มิใช่จะเรียกขานแต่เฉพาะคำว่า "มิส-ตี้" ประกอบกับคำว่า "MISTY" เป็นคำธรรมดาที่ใช้กันทั่วไปซึ่งมีความหมายเข้าใจกันตามธรรมดา มิใช่คำประดิษฐ์ ดังนั้นแม้จะมีบุคคลอื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า "MISTY" ประกอบอยู่ด้วยไว้ก่อนแล้ว บุคคลอื่นก็ยังคงมีสิทธิใช้คำดังกล่าวได้ตราบเท่าที่ได้มีการสร้างความแตกต่างเพียงพอจนสามารถทำให้เป็นที่สังเกตได้ถึงความแตกต่างกันนั้น เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีรูปประดิษฐ์รูปหัวใจประกอบอยู่ด้วย และมีลักษณะการใช้และการวางตัวอักษรโรมันในเครื่องหมายการค้าที่แตกต่างกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีความแตกต่างกันเพียงพอที่สาธารณชนผู้บริโภคจะจดจำและสังเกตได้ถึงความแตกต่างกันนั้นแล้ว แม้รายการสินค้าที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า กับรายการสินค้าที่บุคคลอื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้ว จะเป็นรายการสินค้าเดียวกันและเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคนำมาใช้ในชีวิตประจำวันในครัวเรือนเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจมีผู้บริโภคกลุ่มเดียวกันหรือมีสถานที่วางจำหน่ายแห่งเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำฟ้องทั้งสี่คำขอมีความแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เครื่องหมายการค้าของโจทก์ย่อมไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า

 

*************************************** 

28. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445  ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้   www.ทนายใกล้คุณ.com

ทนายเล่าเรื่อง เครื่องหมายการค้า

ฎีกาที่ 4216/2561

ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 กำหนดให้เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ต้องเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ซึ่งในมาตรา 7 วรรคสอง (2) กำหนดให้เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยคำหรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ โดยประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การกำหนดชื่อทางภูมิศาสตร์ กำหนดให้ชื่อทางภูมิศาสตร์ดังต่อไปนี้ ถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว "(1) ชื่อประเทศ ชื่อกลุ่มประเทศ ชื่อภูมิภาค หรือเขตปกครองตนเองซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับประเทศ (2) ชื่อแคว้น รัฐ หรือมณฑล (3) ชื่อเมืองหลวง เมืองท่า จังหวัด หรือเขตปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (4) ชื่อทวีป (5) ชื่อมหาสมุทร ทะเล อ่าว คาบสมุทร แหลม เกาะ หมู่เกาะ หรือทะเลสาบ (6) ชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ ที่ประชาชนโดยทั่วไปรู้จักกันแพร่หลาย เช่น ภูเขา แม่น้ำ อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ถนน เป็นต้น ชื่อทางภูมิศาสตร์ข้างต้น ให้หมายความรวมถึงชื่อย่อ ชื่อเดิม หรือชื่อที่ใช้เรียกขานทั่วไปโดยไม่จำกัดเฉพาะชื่อในทางราชการ" ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ประกอบกับตามพจนานุกรม Webster's New Geographical Dictionary ให้ความหมายคำว่า "Milwaukee" ไว้ด้วยว่าหมายถึง "Commercial and industrial city and lake port ..." จึงอาจแปลได้ว่า เมืองพาณิชย์และอุตสาหกรรมและท่าเรือทะเลสาบ อันถือได้ว่าเป็นเมืองท่า ซึ่งโจทก์ไม่ได้โต้แย้งในความหมายดังกล่าว ทั้งยังปรากฏว่าโจทก์แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสี่ว่าคำดังกล่าวแปลว่า เมืองท่า ดังนี้ ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ว่า "Milwaukee" เป็นชื่อเมืองท่า และเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การกำหนดชื่อทางภูมิศาสตร์ ข้อ 2 (3) โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าชื่อเมืองท่าดังกล่าวเป็นชื่อที่ประชาชนโดยทั่วไปรู้จักกันแพร่หลายแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้าทั้งสี่ของโจทก์ จึงเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสี่ของโจทก์จะประกอบไปด้วยภาคส่วนรูปประดิษฐ์คล้ายสายฟ้าอยู่ใต้คำดังกล่าวด้วย แต่คำว่า "Milwaukee" ถือเป็นภาคส่วนสำคัญในเครื่องหมาย ทั้งเมื่อรวมกันแล้วก็ยังคงอ่านออกเสียงเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้เช่นเดิม เครื่องหมายการค้า  ของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเอง ชอบที่นายทะเบียนจะมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียน

ส่วนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์ทั้งสี่คำขอได้ลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม หรือไม่นั้น จำเลยได้ให้โจทก์ส่งหลักฐานเพื่อพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักเกณฑ์การพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ซึ่งต่อมาโจทก์ส่งเอกสารอธิบายความเป็นมาของบริษัทโจทก์และบริษัทในเครือ เอกสารแสดงการโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าของโจทก์ สำเนาใบแจ้งหนี้การจำหน่ายสินค้า สำเนาหน้าเว็บไซต์ต่าง ๆ แล้ว หลักฐานดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารแสดงประวัติของบริษัท การโฆษณาและใบแจ้งหนี้แสดงการจำหน่ายสินค้าเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าเริ่มมีการใช้ การโฆษณาหรือการจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนไว้ตั้งแต่เมื่อใด เป็นจำนวนเท่าไรและเป็นระยะเวลานานต่อเนื่องเพียงใด แพร่หลายในประเทศไทยหรือไม่ จึงยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามที่ยื่นขอจดทะเบียนไว้ได้มีการจำหน่ายเผยแพร่หรือโฆษณาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอสมควร จนทำให้สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าสินค้าดังกล่าวแตกต่างไปจากสินค้าอื่นตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องหลักเกณฑ์การพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสี่คำขอของโจทก์จึงไม่ได้ลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้อันพึงรับจดทะเบียนได้

 

*************************************** 

Visitors: 42,449