กฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืน
กฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืน
◦ 1. ควงปืนไปในเขตชุมชน
◦ 2. พกปืนต้องมีใบอนุญาตพกปืนนะครับ
◦ 3. ปืนหาย ต้องไปแจ้งความนะครับ
◦ 4. ปืนมีไว้เพื่อป้องกันตัว
◦ 5. เสือปืนไว
◦ 6. ปืนเถื่อน
◦ 7. จี้ด้วยปืนปลอม
◦ 8. ยิงปืนขึ้นฟ้า
◦ 9. พกปืน-ยิงปืน
◦ 10. ปืนผิดมือ
1. ควงปืนไปในเขตชุมชน
อาวุธปืนเป็นสิ่งหนึ่งที่กฎหมายควบคุมอย่างเข้มงวดในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะซื้อ มีไว้ในครอบครอง ตลอดจนการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ ด้วย เนื่องจากอาจเกิดเหตุที่เป็นภัยกับผู้อื่นได้ แม้ว่าเราจะมีทั้งใบอนุญาตให้มีปืน และใบอนุญาตให้พกปืนแล้วก็ตาม แต่กฎหมายก็ยังมีข้อห้ามไว้สำหรับการนำอาวุธปืนออกมาพกอย่างเปิดเผย ในที่ชุมนุมชน อย่างเช่น งานประเพณี มหรสพ หรืออื่น ซึ่งอาจทำให้เกิด ความหวาดกลัวขึ้นได้ ยกเว้นแต่จะเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย หรือรักษาสินทรัพย์ของทางรัฐ ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียม อาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ วรรค 2 ประกอบมาตรา 72 ทวิ วรรค 2 กำหนดโทษของผู้ที่มิใช้เจ้าพนักงานหรือผู้ที่กฎหมายอนุญาตแต่พกอาวุธปืน อย่างเปิดเผยในสาธารณะว่า ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com ……………………………………………………..
2. พกปืนต้องมีมบอนุญาตพกปืนนะครับ
แม้ว่าคนที่มีครอบครองปืน จะได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ได้ตาม กฎหมายแล้ว แต่กฎหมายก็ไม่อนุญาต ให้พกปืนออกไปนอกสถานที่ได้ อย่างเสรี เพราะว่าอาจก่ออันตราย ต่อบุคคลอื่นขึ้นได้ การจะนำปืนติดตัวไปนั้นจำเป็น จะต้องมีใบพกพาใบพกพาทั่วราชอาณาจักร หรือในเขตจังหวัด (ป.12) ซึ่งผู้ใด ประสงค์มีใบพกพาต้องยื่นคำร้อง ต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต และผู้ได้รับใบพกปืนจำเป็นต้องมี คุณสมบัติตามระเบียบที่กระทรวง มหาดไทยกำหนด ตัวอย่างเช่น เป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ควบคุมทรัพย์สินของรัฐบาล ข้าราชการ ตั้งแต่หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าขึ้นไป ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามหรือ การปฏิบัติงานในการฝ่าอันตราย อย่างไรก็ ตามสำหรั บผู้ครอบครองปืน ที่มิใช่เจ้าหน้าที่ที่มีใบอนุญาตพกปืน แต่มีเหตุเร่งด่วนตามสมควรแก่เหตุ เช่น คุณสมศักดิ์เพิ่งขายสินค้าได้เงิน มาหลายแสนบาทและจำเป็นต้อง นำไปฝากธนาคารซึ่งอยู่ห่างไกล อันเป็นเส้นทางที่มีโจรผู้ร้ายชุกชุม จึงพกปืนที่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย โดยไม่มีใบอนุญาตพกพา การกระทำดังกล่าวอาจอ้างได้ว่าเพราะเป็น ความจำเป็นและเร่งด่วน
แต่หากใครฝ่าฝืนหรือพกปืน โดยไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าว ถือว่ามี ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 72 ทวิ วรรค 2 จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
******************************
3. ปืนหาย ต้องไปแจ้งความ
เมื่อเรามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองแล้ว นอกจากจะต้องใช้อย่างรับผิดชอบแล้ว ก็จะต้องเก็บรักษาอาวุธปืนไว้ในที่ปลอดภัยและแน่นหนา นอกจากนี้ผู้ที่มีอาวุธปืน ไว้ในครอบครองก็จำเป็นที่จะต้องศึกษาพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ให้เข้าใจถึงหน้าที่ และข้อผูกพันตามกฎหมายให้ดี เพราะกฎหมายจะกำหนดว่าต้องทำอย่างไรบ้าง เมื่อสถานการณ์หนึ่งๆ เกิดขึ้น
หากว่านาย ก.ครอบครองอาวุธปืนอย่างถูกกฎหมาย แต่อยู่มาวันหนึ่งก็ได้พบว่า อาวุธปืนนั้นหายไป หาเท่าไรก็ไม่พบ สิ่งที่จะต้องทำนอกเหนือจากไปแจ้งความ เจ้าหน้าที่ตำรวจว่าทรัพย์สินซึ่งคืออาวุธปืนสูญหายแล้ว ก็ยังต้องไปแจ้งเหตุ และส่งมอบใบอนุญาตครอบครองอาวุธปืนนั้นต่อนายทะเบียนในท้องที่ ซึ่งตนอยู่อาศัย หรือท้องที่ที่ปืนนั้นสูญหาย ทั้งนี้ นาย ก.จะต้องดำเนินการภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ทราบเรื่อง ถ้าหาก ไม่ปฏิบัติตาม จะมีความผิดตาม มาตรา 21 และรับโทษตามมาตรา 83 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
อยู่กรุงเทพ ปรึกษาทนายกรุงเทพ 099 464 4445 ค้นหาทนายความได้ที่เวปไซต์นี้: www.ทนายกรุงเทพ.com
*****************************
4. ปืนมีไว้เพื่อป้องกันตัว
สังคมปัจจุบันที่เราไว้วางใจ คนแปลกหน้าไม่ได้ ไม่รู้ว่าเป็นผู้ร้าย หรือผู้ดี ทำให้บางครั้งเราก็อยากจะมี อาวุธไว้ป้องกันตัวเอง คนในครอบครัว และทรัพย์สินของเรา ให้ปลอดจาก ผู้ที่มามุ่งร้าย โดยเฉพาะอาวุธปืน อย่างไรก็ตาม อาวุธปืนเป็นสิ่งที่ สามารถทำอันตรายผู้อื่นให้บาดเจ็บ สาหัสหรือถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยและสุขสงบ ของสังคม จึงต้องมีกฎหมาย มาควบคุมการซื้อขาย ครอบครอง และการใช้อาวุธปืนอย่างเข้มงวด
ปืนถือเป็นอาวุธที่อาจเป็นอันตรายได้ จึงต้องมีกฎหมายมาเกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับคน ในสังคม ดังนั้นหากต้องการมีอาวุธปืน ไว้ป้องกันตัว ต้องแจ้งจดทะเบียนต่อ เจ้าหน้าที่พนักงานตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7 ทั้งนี้ หากฝ่าฝืน ไม่แจ้งเจ้าหน้าที่พนักงาน ต้องระวางโทษ
จำคุก 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000- 20,000 บาท ตามมาตรา 72 วรรคแรก
ขอบคุณข้อมูลจากเพจรู้หมดกฎหมาย มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่เวปไซต์นี้ www.ใกล้คุณ.com
*****************************
5. เสือปืนไว
สุภาษิตโบราณกล่าวไว้ว่า “เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้” น่าจะใช้ได้ดีกับพฤติกรรมของวัยรุ่นบางกลุ่มในสมัยนี้ที่มีการจับกลุ่มทะเลาะวิวาทตามที่เห็นจากสื่อต่างๆ โดยเฉพาะพวกเสือปืนไวหรือชอบชักปืน โชว์อาวุธในการต่อสู้ เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 379 กล่าวไว้ว่า “ผู้ใดชักหรือแสดงอาวุธในการวิวาทต่อสู้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ซึ่งอาวุธในที่นี้หมายถึง อาวุธทุกชนิด ทั้งสิ่งที่ไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ เช่น คัทเตอร์ มีดพับ และรวมไปถึงอาวุธโดยสภาพ เช่น ดาบ หอก ปืน และจะผิดตามมาตรา 379 ได้ต้องมีองค์ประกอบ 2 ส่วน ดังนี้ 1) ชักหรือโชว์อาวุธ 2) เป็นสถานการณ์ สมัครใจทะเลาะวิวาทกันทั้ง 2 ฝ่าย
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
******************************
6. ปืนเถื่อน
กฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืน ถือเป็นข้อกฎหมายที่ประชาชนที่มีอาวุธปืนมักทำผิดได้บ่อย เนื่องจากมี หลายข้อหาเกี่ยวพันกัน ซึ่งหากบุคคลใดมีอาวุธปืนไว้ในการครอบครองแต่เป็นอาวุธปืนที่ไม่มีทะเบียน หรือ ที่เรียกว่า ‘ปืนเถื่อน’ ต้องระวางโทษจำคุก 1 ปี - 10ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 - 20,000 บาท ซึ่งเป็นไป ตามมาตรา 7 ประกอบมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490
อยู่กรุงเทพ ปรึกษาทนายกรุงเทพ 099 464 4445 ค้นหาทนายความได้ที่เวปไซต์นี้: www.ทนายกรุงเทพ.com
***************************************
7. จี้ด้วยปืนปลอม
โจรผู้ร้ายบางคนใช้จิตวิทยาขู่ให้คนกลัว โดยการปล้นจี้โดยไม่ได้ใช้มีด หรือปืนจริง แต่กลับใช้อาวุธเทียม หรืออาวุธปลอมไปก่ออาชญากรรม ซึ่งกรณีนี้จะมีความผิดอย่างไรนั้น กฎหมายสามัญประจำบ้านมีคำตอบ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 ระบุว่า ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใดหรือ จำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเอง หรือของผู้อื่น หรือโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้น หรือ จำยอมต่อสิ่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากเป็นการกระทำโดยมีอาวุธ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ตามมาตรา 309 วรรค 2
ซึ่งศาลเคยตัดสินในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5161/2533 ว่า การที่จำเลยใช้ลูกกุญแจจี้ที่เอวผู้เสียหายแล้วดึงปากกาเขียนแบบกับดินสอ ซึ่งเหน็บอยู่ที่สมุดของผู้เสียหายไปนั้น เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้ลูกกุญแจดังกล่าวอย่างอาวุธ และมีเจตนาให้ผู้เสียหายเกิดความเกรงกลัวไม่กล้าขัดขืน ถือได้ว่าเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหาย ให้จำยอมตามความประสงค์ของจำเลย โดยทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ หรือทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพโดยใช้อาวุธ
มีคดีที่ศาลใหน ปรึกษาทนายใกล้ศาลนั้น 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้ศาลได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้ศาล.com
************************
8. ยิงปืนขึ้นฟ้า
เชื่อว่าหลายๆ ท่าน คงจะเห็นภาพจนชินตากับการยิงปืนขึ้นฟ้าในช่วงเทศกาลต่างๆ แต่รู้หรือไม่ว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 ระบุว่า ผู้ใดยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมืองหมู่บ้าน หรือที่ชุมนุมชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ ศาลฎีกายังเคยตัดสินในคำพิพากษาฎีกา ที่ 3452/2546 ว่าจำเลยยิงปืนขึ้นฟ้าหนึ่งนัด แม้จะเป็นเพียงการทดสอบว่าอาวุธปืนของกลางนั้นจะยังใช้ได้อยู่หรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในหมู่บ้านตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 แล้ว
อยู่กรุงเทพ ปรึกษาทนายกรุงเทพ 099 464 4445 ค้นหาทนายความได้ที่เวปไซต์นี้: www.ทนายกรุงเทพ.com
*****************************
9. พกปืน - ยิงปืน
การมีใบอนุญาตครอบครองปืนและลูกกระสุนปืนนั้น จำกัดเพียงการอนุญาตมีไว้เพื่อครอบครองเท่านั้น แต่การพกพาไปไหนมาไหนไม่สามารถทำได้ตามอำเภอใจ การจะยิงปืนก็เช่นกัน ทั้งนี้ หากพกพาอาวุธปืนโดยไม่มีใบอนุญาตต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา8 ทวิวรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 72 ทวิวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490
อีกทั้งในตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 ระบุว่า การยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ดังนั้น ใครที่มีใบอนุญาตพกปืนก็ยังต้องระวังว่า การพกปืนไปไหนมาไหน หรือการยิงปืนโดยไม่มีเหตุผล อันสมควรอาจติดคุกหรือถูกปรับได้
อยู่กรุงเทพ ปรึกษาทนายกรุงเทพ 099 464 4445 ค้นหาทนายความได้ที่เวปไซต์นี้: www.ทนายกรุงเทพ.com
*****************************
10. ปืนผิดมือ
นอกจากการที่มีอาวุธไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่จะผิดกฎหมายแล้ว การที่มีอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาตแต่เป็นของผู้อื่นไว้ในครอบครอง หรือที่เรียกว่า ‘ปืนผิดมือ’ ถือเป็นความผิดเช่นกัน ซึ่งต้องระวางโทษจำคุก 6 เดือน – 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 – 10,000 บาท ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 7 ประกอบมาตรา 72 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490
นอกจากนี้ การมีเครื่องกระสุนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต (กระสุนไม่ถูกขนาดกับปืนที่ได้รับอนุญาต) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 8ประกอบมาตรา 72 ทวิวรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ
มีคดีที่ศาลใหน ปรึกษาทนายใกล้ศาลนั้น 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้ศาลได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้ศาล.com
**************************