Chat with us, powered by LiveChat

กฎหมายครอบครัว

กฎหมายครอบครัว

1. อยากมีคู่ต้องดูอายุด้วย
2. การหมั้นคืออะไร
3. การหมั้นสามารถบังคับให้อีกฝ่ายจดทะเบียนสมรสได้หรือไม่ **
4. สินสอด
5. เงื่อนไขการสมรส
6. การสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายต้องทำอย่างไร
7. การจดทะเบียนสมรสซ้อนมีผลอย่างไร
8. ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา
9. สินสมรสคืออะไร
10. การแบ่งสินสมรส
11. สินส่วนตัวคืออะไร
12. หนี้ต้องรับ ทรัพย์ต้องแบ่ง
13. การมีบุตรที่พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนกัน
14. การรับบุตรบุญธรรม
15. สิทธิของผู้รับบุตรบุญธรรม
16. สิทธิของบุตรบุญธรรม
17. การเป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย
18. ชื่อสกุลนั้นสำคัญไฉน
19. ความผิดฐานทิ้งลูก
20. ความผิดฐานแท้งลูก
21. ความรุนแรงในครอบครัว
22. สามีภริยาทำร้ายร่างกายกัน
23. ความผิดต่อชีวิต
24. นาง-นางสาว เลือกได้มั้ย
25. โทษทางอาญา ระหว่างสามี-ภรรยา เกี่ยวกับทรัพย์
26. นกเขาไม่ขันฟ้องหย่าได้หรือไม่

1. อยากมีคู่ต้องดูที่อายุด้วย (1 of 26)
หนุ่มสาวหรือวัยรุ่นมักใจร้อนอยากจดทะเบียนสมรสกันเร็วๆ แต่ในทางกฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขเอาไว้ว่า ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะต้องมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ จึงจะทำการสมรสกันได้ เว้นแต่มีเหตุอันสมควรก็ขอให้ศาลสั่งให้สามารถสมรสกันได้ ตัวอย่างเช่น นายเอกับนางสาวบี ทั้งคู่อายุ 15 ปี ทั้งสองรักกันมากและต้องการจดทะเบียนสมรสกันแต่ไม่สามารถทำได้เพราะกฎหมายไม่อนุญาต ในทางกลับกัน สมมุติว่านายเอกับนางสาวบีเกิดได้เสียกันและนางสาวบีได้ตั้งท้อง บิดาและมารดาของทั้งสองฝ่ายจึงต้องไปร้องขออนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสกันได้ เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 
……………………………………….

2. การหมั้นคืออะไร (2 of 26)
การหมั้น ในความเข้าใจของประชาชนทั่วไป หมายถึง การจองตัวไว้ก่อนที่จะมีการแต่งงานกัน หรือสมรสกันตามกฎหมาย แต่กฎหมายบัญญัติให้การหมั้นจะมีผลตามกฎหมายได้ การหมั้นนั้นจะกระทำได้เมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปี บริบูรณ์ขึ้นไปเท่านั้น หากการหมั้นฝ่าฝืนโดยที่ชายหญิงที่หมั้นกันมีอายุไม่ถึงสิบเจ็ดปี การหมั้นนั้นตกเป็นโมฆะ และการหมั้นนั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองด้วย ซึ่งอาจเป็นพ่อ แม่ หรือผู้มีอำนาจปกครองขณะนั้น ส่วนของหมั้นจะต้องมีการส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้หญิงคู่หมั้นขณะที่ทำการหมั้นด้วย โดยฝ่ายชายเป็นผู้ส่งมอบของหมั้นเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น หากส่งมอบให้ภายหลังการหมั้นไม่ถือว่าเป็นของหมั้น ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 มาตรา 1436 และมาตรา 1437 และเมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นของหญิงทันที

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 
……………………………………….

3. การหมั้นสามารถบังคับให้อีกฝ่ายจดทะเบียนสมรสได้หรือไม่ (3 of 26)
กรณีเมื่อมีการหมั้นแล้ว หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมสมรส อีกฝ่ายหนึ่งจะเรียกร้องให้ทำการสมรสด้วยไม่ได้ เพราะเหตุว่า การสมรสนั้นต้องเป็นการยินยอมที่จะอยู่กินฉันท์สามีภรรยากันด้วยความเต็มใจ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 ที่บัญญัติว่า การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ แต่อย่างใดก็ดี ฝ่ายที่ผิดสัญญาไม่ทำการสมรส อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน รวมทั้งหากฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 
……………………………………….

4. สินสอด (4 of 26)
สินสอด หมายถึง ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่พ่อ แม่ หรือผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส เป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 ดังนั้น สินสอดเป็นทรัพย์สิน เช่น เงิน ทองคำ หรืออาจเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นที่ฝ่ายชายให้แก่พ่อ แม่ หรือผู้ปกครองหรืออาจเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมของฝ่ายหญิง เป็นการตอบแทนที่ให้หญิงนั้นยอมสมรสกับตนเอง แต่เมื่อทำการหมั้นแล้ว หากฝ่ายหญิงไม่ทำการสมรสกับฝ่ายชายโดยผิดสัญญาหรือมีเหตุการณ์หรือพฤติการณ์บางอย่างที่ฝ่ายหญิงต้องรับผิด ทำให้ฝ่ายชายไม่ควรสมรสกับฝ่ายหญิง ฝ่ายชายสามารถเรียกสินสอดคืนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคสอง และวรรคสามบัญญัติเอาไว้

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 
……………………………………….

5. เงื่อนไขการสมรส (5 of 26)
การสมรส กฎหมายกำหนดเงื่อนไขไว้หลายประการ เช่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 บัญญัติไว้ว่า การสมรสจะทำได้เมื่อชายและหญิงนั้นมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสได้ ดังนั้น การสมรสจะกระทำได้เมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีทั้งสองฝ่าย แต่อย่างไรก็ดี หากมีเหตุที่จำเป็นอันสมควร ดังเช่น ชายและหญิงมีความสัมพันธ์กันก่อนมีอายุสิบเจ็ดปี หากหญิงเกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา กรณีนี้อาจร้องต่อศาลขอทำการสมรสได้ ถือว่ามีเหตุอันสมควรตามกฎหมาย

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 
……………………………………….

6. การสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายทำอย่างไร (6 of 26)
การสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายก็คือ การที่ทั้งชายและหญิงต้องไปจดทะเบียนสมรสกันกับนายทะเบียนและต้องไปเปิดเผยต่อนายทะเบียนด้วยว่าตนยินยอมที่จะเป็นสามีภรรยากัน โดยที่นายทะเบียนต้องบันทึกการยินยอมไว้ด้วยหรือเรียกภาษาชาวบ้านว่า จดทะเบียนสมรส เมื่อกระทำครบถ้วนข้างต้นจึงจะถือว่า การจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าหากมีการจัดงานแต่งงานเลี้ยงแขกอย่างยิ่งใหญ่แต่ไม่ไปจดทะเบียนสมรสกัน ก็ไม่ถือว่าเป็นสามีภรรยาตามกฎหมายและไม่เกิดสิทธิใดๆ ต่อกัน ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 และมาตรา 1458 (ติดตามโพตส์ต่อไป เรื่องการจดทะเบียนสมรสซ้อน)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 
……………………………………….

7. การจดทะเบียนสมรสซ้อน (7 of 26)
การสมรสซ้อนเป็นกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งมีคู่สมรสอยู่แล้ว แต่ไปจดทะเบียนสมรสกับบุคคลอีกคนหนึ่งทั้งที่ตนเองมีคู่สมรสอยู่แล้ว ถือว่าการสมรสครั้งหลังนี้ตกเป็นโมฆะ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 บัญญัติไว้ว่า ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้ และมาตรา 1495 บัญญัติว่า การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะ อย่างไรก็ดี การที่จะกระทำให้การสมรสครั้งหลังเป็นโมฆะโดยสมบูรณ์เพราะเหตุจดทะเบียนซ้อนนี้กฎหมายระบุให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือมีส่วนได้เสีย เช่น สามีหรือภรรยาของผู้ที่คู่สมรสของตนไปจดทะเบียนสมรสกับบุคคลอื่น ซึ่งได้รับความเสียหายโดยตรงกล่าวขึ้นอ้างต่อศาลและร้องต่อศาลว่าการสมรสเป็นโมฆะ ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 
……………………………………….

8. ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา (8 of 26)
ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1470 ได้บัญญัติไว้ว่า ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัวย่อมเป็นสินสมรส ดังนั้น เมื่อชายและหญิงสมรสกัน ซึ่งถือเสมือนว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันในการดำรงชีวิต แต่อย่างไรก็ดี ทั้งสองฝ่ายอาจมีทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนมาก่อนที่จะสมรสกัน กฎหมายจึงได้แบ่งแยกทรัพย์สินของสามีภรรยาออกเป็นสองประการ คือ สินส่วนตัวและสินสมรส โดยที่สินส่วนตัวนั้นเป็นสิทธิ์ของแต่ละฝ่ายที่จะดูแลจัดการด้วยตนเอง ส่วนสินสมรสนั้นทั้งสองฝ่ายต้องดูแลและจัดการร่วมกัน

ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
ความขัดแย้งเรื่องทรัพย์สินที่เกิดขึ้นระหว่างสามีภรรยา ไม่ว่าเกิดจากฝ่ายสามีกระทำกับภรรยา หรือเกิดจากฝ่ายภรรยากระทำกับสามี เช่น การขโมยเงิน และของมีค่า หรือฉ้อโกงหลอกลวงเงิน แม้กฎหมายถือว่าเป็นความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ เพราะกฎหมายมองว่าเป็นเหตุส่วนตัวที่สามารถยกโทษให้กันได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 71 ตัวอย่างเช่น สามีขโมยสร้อยคอทองคำซึ่งเป็นสินส่วนตัวของภรรยาไปขาย แม้สามีจะมีความผิดฐานลักทรัพย์ แต่กฎหมายก็มีเหตุยกเว้นโทษ เนื่องจากเป็นเหตุ ส่วนตัวที่สามารถยกโทษให้กันได้ เนื่องจากต้องการคุ้มครองความผาสุกของสามีภรรยาในระบบครอบครัวอันเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม แม้กฎหมายจะไม่เอาผิด แต่เรื่องในลักษณะนี้ถ้าไม่เกิดขึ้นย่อมจะเป็นผลดีกับทุกฝ่ายมากกว่า

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 
………………………………………. 

9. สินสมรสคืออะไร (9 of 26)
คำว่าสินสมรส ก็คือทรัพย์สินที่สามีภรรยามีส่วนร่วมกันในทรัพย์สินนั้น การจัดการทรัพย์สินก็ต้องจัดการร่วมกัน ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 บัญญัติไว้ว่า สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน 1. ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส 2. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรส โดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือที่ระบุว่าเป็นสินสมรส 3. ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว และมาตรา 1474 วรรคสอง ยังบัญญัติต่อไปอีกว่า กรณีที่สงสัยว่าทรัพย์สินเป็นสินสมรสหรือไม่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส ดังนั้น ทรัพย์สินที่จะเป็นสินสมรส ต้องไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีมาก่อนสมรสนั้นเอง คือได้มาระหว่างสมรสอีกประการหนึ่ง กรณีหากฝ่ายหนึ่งมีทรัพย์สินส่วนตัว ต่อมามีดอกผลที่เกิดจากการใช้ทรัพย์เหล่านั้น เช่น ฝ่ายหญิงเลี้ยงสุนัขก่อนสมรส ต่อมาฝ่ายหญิงได้ทำการสมรสและสุนัขที่ได้เลี้ยงไว้นั้น ได้ให้กำเนิดลูกสุนัข ส่งผลให้ลูกสุนัขที่เกิดมาเป็นดอกผลที่เกิดขึ้นจากสินส่วนตัว แต่เนื่องจากเกิดขึ้นภายหลังการสมรส ดังนั้น ลูกสุนัขจึงกลายเป็นสินสมรสด้วย อีกกรณีหนึ่งที่เป็นสินสมรสก็คือคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ทรัพย์สินมาโดยพินัยกรรมหรือการให้เป็นหนังสือที่ระบุไว้ให้เป็นสินสมรส กรณีทั้งสามประการจึงเป็นสินสมรส ซึ่งสามีและภรรยาจะต้องจัดการดูแลร่วมกันหรือต้องได้รับยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งจึงจะจัดการโดยลำพังได้ เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 วรรคแรก

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 ได้แบ่งประเภทของสินสมรสไว้ 3 ประเภท ดังนี้ (1) ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส (2) ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส และ (3) ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

ชีวิตคู่เป็นเรื่องของบุคคล 2 คน ที่ต้องแบ่งปันและใช้ชีวิตร่วมกัน แต่หากวันใดไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้อีกต่อไปก็สามารถตกลงแยกทางกันได้ และสามารถแบ่งหรือโอนทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสให้แก่กันได้ รวมทั้งหากมีหนี้สินร่วมกันก็ให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1489

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 
……………………………………….

10. การแบ่งสินสมรส (10 of 26)
เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยการหย่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 บัญญัติให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงเท่าๆ กัน และมาตรา 1535 ได้บัญญัติเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดของหญิงชายภายหลังการสมรสสิ้นสุดลงไว้ว่า ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ตามส่วนเท่ากันตามบทบัญญัติดังกล่าว สรุปได้ว่าเมื่อการสมรสสิ้นสุดลงให้ชายและหญิงที่หย่ากันแบ่งสินสมรสกันคนละครึ่งในส่วนที่เท่ากัน ส่วนความรับผิดเกี่ยวกับหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างเป็นสามีภรรยากันนั้นก็ต้องรับผิดในส่วนเท่าๆ กันเช่นกัน ยกเว้นหนี้ที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสร้างขึ้นเป็นหนี้ส่วนตัวโดยแท้ไม่เกี่ยวกับสินสมรส ทั้งนี้ฝ่ายที่ก่อหนี้ต้องรับผิดเองเป็นการส่วนตัว (โปรดติดตามโพสต์ต่อไป เรื่องสินส่วนตัว)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 
……………………………………….

 

11. สินส่วนตัวคืออะไร (11 of 26)
คำว่า สินส่วนตัว ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 ได้กำหนด สินส่วนตัวไว้ดังนี้ 1. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส 2. เครื่องใช้ส่วนตัว เครื่องแต่งกายตามฐานะเครื่องมือประกอบวิชาชีพ 3. ทรัพย์สินที่ฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยรับมรดกหรือการให้โดยเสน่หา 4. ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น อย่างไรก็ดีหากสินส่วนตัว มีการนำไปแลกเปลี่ยนหรือขายหรือซื้อได้มา ซึ่งทรัพย์สินอื่นที่ได้มาแทนนั้น ก็ยังเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นเช่นเดิม ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1472

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 
……………………………………….

12. หนี้ต้องรับ ทรัพย์ต้องแบ่ง (12 of 23)
เมื่อคู่สมรสที่เคยรักกันต้องสิ้นสุดความสัมพันธ์กันแล้ว นอกจากสินสมรสที่ต้องแบ่งให้เท่าๆ กันแล้ว ในส่วนของหนี้สินที่เกิดมาร่วมกันระหว่างสมรสก็ต้องร่วมกันรับผิดชอบไปในส่วนเท่าๆ กันด้วย ตัวอย่างเช่น นายสมโชคได้จดทะเบียนหย่าร้างกับนางสมพร โดยทั้งคู่มีเงินสดอยู่ 500,000 บาทที่เป็นสินสมรส ขณะเดียวกันนายสมโชคก็มีหนี้อยู่ 100,000 บาทที่เกิดจากไปกู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นค่าใช่จ่ายในการเรียนของลูก ต่อมาเมื่อทั้งคู่หย่าร้างกันจะต้องแบ่งสินสมรสกันคนละ 250,000 บาท ขณะเดียวกันนางสมพรจะต้องช่วยรับผิดชอบหนี้จำนวนดังกล่าวที่นายสมโชคก่อขึ้นระหว่างสมรสจำนวนครึ่งหนึ่ง หรือ 50,000 บาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 มาตรา 1535

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 
……………………………………….

13. การมีบุตรที่พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส (13 of 26)
การที่ชายและหญิงอยู่กินฉันท์สามีกรรยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสและมีบุตรเกิดขึ้นมา บุตรนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 บัญญัติหลักกฎหมายไว้ว่า เด็กที่เกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้นการที่หญิงและชายอยู่กินฉันท์สามีภรรยา เมื่อมีบุตรขึ้นมากฎหมายให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น แต่อย่างไรก็ดี เด็กที่เกิดขึ้นมานั้นจะเป็นบุตรโดยชอบของชายได้ก็ต่อเมื่อ ชายและหญิงนั้นสมรสกันในภายหลัง หรือบิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร และในกรณีหลังนี้กฎหมายให้มีผลแก่บุตรย้อนไปถึงวันที่บุตรเกิด โดยถือว่าชายนั้นเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรนับแต่วันที่เด็กเกิด ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 และมาตรา 1557

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 
……………………………………….

14. การรับบุตรบุญธรรม (14 of 26)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/19 และมาตรา 1598/20 ได้วางกฎเกณฑ์ตามกฎหมายการรับบุตรบุญธรรมไว้ว่า บุคคลที่ต้องการรับบุคคลอื่นเป็นบุตรบุญธรรมนั้น ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อยสิบห้าปี และหากบุตรบุญธรรมอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปี ผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย นอกจากนี้ หากผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์และมีพ่อแม่ผู้ปกครองอยู่ ต้องได้รับการยินยอมจากบุคคลเหล่านั้นด้วย เป็นไปตามบทบัญญัติ มาตรา 1598/21 อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส ต้องให้คู่สมรสยินยอมในการรับบุตรบุญธรรมด้วย ตามบทบัญญัติ มาตรา 1598/25 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 
……………………………………….

15. สิทธิของผู้รับบุตรบุญธรรม (15 of 26)
กรณีรับบุตรบุญธรรมนั้น ทำให้ผู้ที่รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิเป็นผู้ปกครองแทนบิดามารดาหรือผู้ปกครองเดิมนับแต่รับบุตรบุญธรรม โดยทำหน้าที่อบรมสั่งสอน อุปการะเลี้ยงดู ให้การศึกษา ตลอดจนช่วยเหลือเกื้อกูลบุตรบุญธรรมเสมือนบุตรที่แท้จริงของตน ตามหน้าที่ เช่นบิดา มารดาทั่วไปพึงกระทำ แต่การเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ทำให้เกิดสิทธิในการรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมแต่อย่างใด ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/29

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 
……………………………………….

16. สิทธิขอบบุตรบุญธรรม (16 of 26)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/28 ได้กำหนดให้สิทธิผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรม ไว้ว่า บุตรบุญธรรมจะมีฐานะเช่นเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมกล่าวคือ มีสิทธิเช่นเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูและมีสิทธิได้รับมรดกตกทอดเสมือนทายาทชั้นบุตรของผู้รับบุตรบุญธรรมทุกประการแต่ก็ไม่เสียสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมาแต่เดิม เช่น มีสิทธิในการรับมรดกตกทอดจากบิดามารดาทายาทเดิม เพียงแต่อำนาจในการปกครองตกอยู่ในอำนาจของผู้รับบุตรบุญธรรม บิดามารดาหมดอำนาจปกครองนับแต่เด็กตกเป็นบุตรบุญธรรมของผู้รับบุตรบุญธรรม

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com
……………………………………….

17. การเป็นบุตรบุญธรรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย (17 of 26)
การที่จะเป็นบุตรบุญธรรมโดยถูกต้องและสมบูรณ์ตามกฎหมายนั้น จะต้องนำไปจดทะเบียนและต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ด้วย เป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/21 สำหรับกรณีของผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุตรคนอื่นอยู่ จะไปขอเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกไม่ได้ ยกเว้นจะเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมของตนซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/26

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 
………………………………………. 

18. ชื่อสกุลนั้นสำคัญไฉน (18 of 26)
ชื่อสกุลหลักการหย่า
กฎหมายไทยในปัจจุบัน เปิดโอกาสให้คู่สามีภรรยาสามารถเลือกใช้นามสกุลได้อย่างเสรี จะเลือกใช้ของสามี ของภรรยา หรือต่างคนต่างใช้นามสกุลของใครของมันก่อนจดทะเบียนสมรสก็ได้ อย่างไรก็ดี หากการสมรสดังกล่าวมิได้ราบรื่นอีกต่อไป ต้องจบลงด้วยการเลิกราไม่ว่าจะเป็นเพราะจดทะเบียนหย่าโดยความสมัครใจของทั้งคู่ หย่าตามคำพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส เช่น การสมรสโมฆะ เพราะการสมรสซ้อน เหล่านี้ หากคู่สมรสดังกล่าวเคยตกลงที่จะใช้นามสกุลของฝ่ายใดร่วมกันแล้ว เมื่อหย่าร้างหรือศาลเพิกถอนการสมรส ข้อตกลงใช้นามสกุลร่วมกันก็เป็นอันสิ้นสุด และแต่ละฝ่ายก็ต้องเปลี่ยนกลับไปใช้นามสกุลเดิมของตนก่อนจดทะเบียนสมรส

ชื่อสกุลหลังคู่สมรสเสียชีวิต
กฎหมายไทยในปัจจุบันเปิดโอกาสให้คู่สามีภรรยาสามารถเลือกใช้นามสกุลได้อย่างเสรี จะเลือกใช้ของสามี ของภรรยาหรือต่างคนต่างใช้นามสกุลของตนต่อไปก็ได้ อย่างไรก็ดีหากคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายเป็นเหตุให้การสมรสดังกล่าวสิ้นสุดลงตัวอย่างเช่น นายสมชาย หอมจับจิตสมรสกับนางสาวสมหญิง หอมสุดใจทั้งคู่ตกลงร่วมกันใช้นามสกุลของสามีสมหญิงจึงเปลี่ยนนามสกุลเป็น หอมจับจิต ตามนามสกุลของสมชาย ต่อมาสมชายถึงแก่ความตาย เช่นนี้ สมหญิงมีสองทางเลือกคือ จะใช้นามสกุลหอมจับจิตของอดีตสามีต่อไปก็ได้ และใช้ได้ตลอดไปตราบเท่าที่สมหญิงไม่ได้สมรสใหม่ หรือสมหญิงอาจจะเลือกเปลี่ยนกลับไปใช้นามสกุลเดิมของตนก่อนการสมรสก็ได้

ชื่อสกุลของหญิงทีสามี
แต่ก่อนแต่ไรมา พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 กำหนดบังคับไว้ว่า หญิงมีสามีต้องใช้นามสกุลของสามีเท่านั้น จะใช้นามสกุลเดิมของตนก่อนสมรสไม่ได้ หรือแม้จะใช้นามสกุลอื่นให้ผิดแผกแตกต่างไปจากนามสกุลที่สามีใช้อยู่ก็ไม่ได้ ทางออก ณ ขณะนั้นก็คือ หญิงมีสามีทั้งหลายเลี่ยงไปใช้นามสกุลเดิมของตนในฐานะที่เป็นชื่อรอง อย่างไรก็ดี เมื่อปี 2546 ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วว่า บทบังคับให้หญิงมีสามีต้องใช้นามสกุลของสามีดังกล่าว เข้าข่ายเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อสตรี เพราะจัดให้มีสถานะทางกฎหมายที่ด้อยกว่าสามี เป็นการเลือกปฏิบัติระหว่างหญิงกับชาย ขัดต่อหลักความเสมอภาค จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ และนับแต่นั้นมา ผู้หญิงก็มีทางเลือกมากขึ้น

เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 มาตราที่กำหนดบังคับให้หญิงมีสามีต้องใช้ชื่อสกุลของสามีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เพราะละเมิดหลักความเสมอภาคระหว่างชายและหญิงคำวินิจฉัยดังกล่าวก็นำมาสู่การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายชื่อบุคคลกันอีกครั้งเมื่อปี 2548 เปลี่ยนแปลงให้สิทธิแก่ทั้งหญิงและชายได้มีทางเลือกมากยิ่งขึ้นดังนี้ไม่ว่าชายหรือหญิงเมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว จะใช้นามสกุลใด อย่างไร ให้เป็นไปตามที่ทั้งคู่เลือกและตกลง ซึ่งก็มีอยู่ 3 ทางเลือก ทางแรก ต่างฝ่ายต่างใช้นามสกุลเดิมของตนก่อนสมรส ไม่เปลี่ยนแปลง ทางที่สอง เปลี่ยนไปใช้นามสกุลของสามีหรือไม่ก็ทางเลือกที่สามคือคู่สมรสทั้งสองฝ่ายเลือกใช้นามสกุลของภรรยา

กฎหมายชื่อบุคคลของไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนับว่าเป็นหนึ่งในกฎหมายที่ก้าวหน้า เพราะว่าให้สิทธิเสรีภาพแก่สตรีเท่าเทียมบุรุษ ในการเลือกใช้นามสกุลภายหลังการสมรส แตกต่างจากเดิมที่บังคับให้หญิงมีสามีต้องใช้นามสกุลของสามีเท่านั้น แต่กฎหมายปัจจุบัน ให้คู่สมรสทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ว่า จะใช้นามสกุลของฝ่ายใด หรือแม้แต่ ต่างฝ่ายต่างใช้นามสกุลเดิมของตนเองก็ได้ การตกลงของคู่สมรสเพื่อเลือกใช้นามสกุลเช่นนี้ จะตกลงตั้งแต่แรกเริ่มเมื่อครั้งจดทะเบียนสมรส หรือตกลงกันในภายหลัง และก็อาจเปลี่ยนใจเปลี่ยนข้อตกลงเดิมเมื่อใดก็ได้ เช่น ตอนจดทะเบียนสมรส ทั้งคู่เลือกใช้นามสกุลของสามี แต่ต่อมา ทั้งคู่เปลี่ยนใจเปลี่ยนไปใช้นามสกุลของภรรยา หรืออาจจะตกลงกันใหม่ต่างฝ่ายต่างใช้นามสกุลเดิมของใครของมันก็ได้

ชื่อสกุลของเด็กในการอุปการะ
เด็กบางคนเกิดมาอาภัพ บ้างทั้งพ่อและแม่ต่างเสียชีวิตทั้งคู่ ไม่มีญาติอุปการะเลี้ยงดู บ้างก็ถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง รัฐจึงมีหน้าที่ตามหลักมนุษยธรรมนำเด็กเหล่านั้นไปอุปการะ ให้การศึกษา ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า บางครั้งเด็กเหล่านี้ไม่มีแม้แต่นามสกุล จะสืบเสาะหาญาติพี่น้อง ก็ไม่พบใคร ด้วยเหตุนี้พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 จึงเปิดช่องให้ผู้อุปการะเลี้ยงดูเด็กเจ้าของสถานพยาบาล สถานสงเคราะห์ หรือสถานอุปการะเลี้ยงดูเด็ก สามารถจดทะเบียนตั้งชื่อสกุลของเด็กที่อยู่ในความอุปการะหรือความดูแลดังกล่าวได้ ในการนี้ อาจตั้งไว้หลายนามสกุลก็ได้และเมื่อใดก็ตาม มีเด็กสัญชาติไทยซึ่งไม่มีนามสกุลเข้ามาอยู่ในความดูแลของสถานที่แห่งนั้น ก็สามารถเลือกกำหนดชื่อสกุลให้แก่เด็กคนนั้นได้

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 
……………………………………….

19. ความผิดฐานแท้งลูก (19 of 26)
การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่น นำไปสู่ปัญหาการตั้งครรภ์และผลเสียต่างๆ ตามมาอย่างมากมาย สิ่งหนึ่งมาจากการรู้เท่าไม่การณ์หรือเพราะความประมาท รวมถึงการขาดการเอาใจใส่จากครอบครัวและการขาดแคลนโอกาสทางการศึกษา สาเหตุเหล่านี้เป็นปัญหาต้นๆ ที่ต้องรีบแก้ไขและให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักเรียน นักศึกษา ให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการทำแท้ง เพราะหากหญิงใดทำให้ตนแท้งลูกหรือยอมให้คนอื่นทำให้ตนแท้งลูกถือว่าหญิงนั้นหรือผู้กระทำนั้นได้กระทำผิดฐานทำให้แท้งลูก ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สถานบริการหรือคลินิกที่เปิดให้บริการรับปรึกษาการตั้งครรภ์ ที่ได้จดขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย บางครั้งหลายๆ สถานบริการ ยังเป็นสถานที่ให้บริการรับทำแท้งลูกให้กับหญิงสาวที่ยังไม่พร้อมมีบุตรหรือพลาดพลั้งมีเพศสัมพันธ์กับคนรักแล้วไม่ได้ป้องกันทำให้เกิดการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งกลุ่มหญิงเหล่านี้มักจะหาสถานบริการหรือผู้ให้บริการเถื่อนทำแท้งลูกให้ ซึ่งถือว่าการทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงยินยอมผิดกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 302 ฐานความผิดผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การทำแท้งถือเป็นความผิดตามกฎหมายไทย แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำแท้งมีมาตลอดทุกยุค ทุกสมัย ซึ่งมีสาเหตุทางสังคมหลายประการ อาทิ ฝ่ายชายไม่รับผิดชอบ ยังไม่ได้สมรส อยู่ในวัยเรียน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังไม่รวมไปถึงการกระทำอันมีผลให้ผู้อื่นแท้งลูกโดยไม่ยินยอม ซึ่งถือเป็นการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 303 วรรค 1 ในฐานความผิดผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 
……………………………………….

20. ความผิดฐานทอดทิ้งลูก (20 of 26)
บ่อยครั้งที่มีการนำเสนอข่าวเด็กถูกทอดทิ้งตามสถานที่ต่างๆโดยปราศจากผู้ปกครองดูแลอันเนื่องมาจากปัญหาครอบครัวแตกแยก การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ครอบครัวมีฐานะยากจน หรือพ่อ แม่หย่าร้างกัน ซึ่งพ่อแม่ที่ทอดทิ้งลูกตัวเอง นอกจากจะไม่มีความรู้สึกรับผิดชอบทางศีลธรรมแล้ว ยังถือเป็นความผิดทางกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 306 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และอื่นๆ ส่งผลให้บทบาทความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวลดน้อยลง ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามาแทรกแซงจนบางครอบครัวละเลยขาดการเหลียวแลเอาใจใส่ต่อคนใกล้ชิดหรือบุพการี และมีหลายกรณีที่ทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพังในยามเจ็บmป่วย ชรา เป็นต้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บ หรือคนชรา ว่าด้วยผู้ใดมีหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามสัญญาต้องดูแลผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้เพราะอายุ ความเจ็บป่วยกายพิการ หรือจิตพิการ ทอดทิ้งผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้นั้นเสีย โดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 307 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 

***************************************

21. ความรุนแรงในครอบครัว (21 of 26)
การทำร้ายร่างกายของกันและกันระหว่างสามีและภรรยา ถือเป็น “ความรุนแรงในครอบครัว” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรา 3 หมายความว่า การกระทำใด ๆ โดยมุ่งประสงค์เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพ หรือกระทำโดยเจตนาในลักษณะ ที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว หรือบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ ไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด โดยมิชอบ แต่ไม่รวมถึงการกระทำโดยประมาท ส่วน“บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภรรยา โดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตร บุตรบุญธรรม สมาชิกในครอบครัว รวมทั้งบุคคลใดๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน และในมาตรา4 ยังบัญญัติว่า ผู้ใดกระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบครัว ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดยสรุป คือ กฎหมายห้ามบุคคลใดใช้ความรุนแรงกับสมาชิกในครอบครัวซึ่งจะมีความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว จำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยความผิดข้อหานี้สามารถยอมความกันได้และมีอายุความ 3 เดือนนับแต่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวอยู่ในวิสัยและมีโอกาสที่จะแจ้งความหรือร้องทุกข์ได้ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลในครอบครัว รวมทั้งทุกภาคส่วนในสังคมร่วมกันรณรงค์และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว โดยกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่กระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบครัวแม้จะอยู่ในสถานะเป็นสามี ภรรยากันก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พุทธศักราช 2550 มาตรา 4

บางครอบครัวที่มีการทำร้ายร่างกายกันอย่างรุนแรงตามที่นำเสนอทางสื่อหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ฯลฯ จนถึงขั้นฟ้องศาลให้ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวชดใช้เงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เบื้องต้นตามความสมควร หรือร้องขอให้มีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ต่อผู้ถูกกระทำในครอบครัว โดยห้ามผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวเข้าไปในที่พำนักของครอบครัวหรือเข้าใกล้ตัวบุคคลใดในครอบครัว หากผู้กระทำความรุนแรงฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงาน ถือเป็นความผิดตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พุทธศักราช 2550 มีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 

***************************************

22. สามีภริยาทำร้ายร่างการกัน (22 of 26)
การทำร้ายร่างกายของกันและกันระหว่างสามีและภรรยา ถือเป็น “ความรุนแรงในครอบครัว” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรา 3 หมายความว่า การกระทำใด ๆ โดยมุ่งประสงค์เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพ หรือกระทำโดยเจตนาในลักษณะ ที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว หรือบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ ไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด โดยมิชอบ แต่ไม่รวมถึงการกระทำโดยประมาท ส่วน“บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภรรยา โดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตร บุตรบุญธรรม สมาชิกในครอบครัว รวมทั้งบุคคลใดๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน และในมาตรา4 ยังบัญญัติว่า ผู้ใดกระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบครัว ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดยสรุป คือ กฎหมายห้ามบุคคลใดใช้ความรุนแรงกับสมาชิกในครอบครัวซึ่งจะมีความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว จำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยความผิดข้อหานี้สามารถยอมความกันได้และมีอายุความ 3 เดือนนับแต่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวอยู่ในวิสัยและมีโอกาสที่จะแจ้งความหรือร้องทุกข์ได้ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 
……………………………………….

23. ความผิดต่อชีวิต (23 of 26)
การทะเลาะวิวาท การมีปากเสียงถึงขั้นตบตี หรือชกต่อยกันด้วยโมหะ โทสะที่ปรากฏในกลุ่มวัยรุ่นหรือครอบครัวทำให้สร้างความเดือดร้อนถึงขั้นบาดเจ็บ หรือส่งผลให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ถือว่าบุคคลนั้นได้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ว่าด้วยผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com 

***************************************

24. นาง-นางสาว เลือกได้มั้ย (24 of 26)
ในโลกยุคปัจจุบันที่หญิงและชายเท่าเทียมกัน ดังนั้น คำนำหน้าชื่อย่อมเป็นไปด้วยความสมัครใจ เช่น ฝ่ายหญิงเมื่อแต่งงานจดทะเบียนสมรสแล้ว จะใช้คำนำหน้าว่านางสาวหรือนางก็ได้ ส่วนหญิงที่หย่าร้าง หากเดิมใช้คำนำหน้าว่า “นาง” ก็สามารถกลับมาใช้ “นางสาว” ได้เช่นกัน ส่วนชายไทย ไม่ว่าแต่งหรือไม่แต่ง หรือหย่าร้าง ก็ยังคงใช้คำนำหน้าว่า “นาย” เท่านั้น
ซึ่งเป็นตามพระราชบัญญัติคำนำหน้านามหญิง พ.ศ.2551 มาตรา 4 ที่กำหนดให้หญิงที่อายุ 15 ปีขึ้นไป และยังไม่ได้สมรส ให้ใช้คำนำหน้านามว่า “นางสาว”
มาตรา 5 หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้วจะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ก็ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว
มาตรา 6 หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว ต่อมาการสมรสสิ้นสุดลงจะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ก็ได้ตามความสมัครใจโดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว

ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com 

***************************************

25.  โทษทางอาญา ระหว่างสามี-ภรรยา เกี่ยวกับทรัพย์ (25 of 26)
ปัญหาสามีขโมยเงินภรรยา ถือเป็นเรื่องปกติของบางครอบครัว แต่ทราบหรือไม่ว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 บัญญัติความผิดฐานลักทรัพย์ไว้ว่า ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท
แต่ในมาตรา 71 วรรคหนึ่ง ระบุว่า ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334 ถ้าเป็นการกระทำที่สามีกระทำต่อภรรยาหรือภรรยากระทำต่อสามี ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ
จากข้อกฎหมายตามที่กล่าวมาข้างต้น ความผิดที่ได้รับการยกเว้นโทษ ตามมาตรา 71 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นลักษณะ ดังนี้ 1) ต้องเป็นสามีหรือภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกัน 2) ทรัพย์ที่ถูกขโมยต้องเป็นทรัพย์ระหว่างสามีหรือภรรยาเท่านั้น ไม่มีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย 3) การยกเว้นโทษต้องเป็นกรณีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เฉพาะที่ไม่มีการข่มขู่หรือใช้กำลังประทุษร้ายและต้องไม่เกิดอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย
สรุปง่ายๆ คือ สามี ภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกัน เมื่อกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกงทรัพย์ระหว่างกันเองมีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายดังที่กล่าวไปข้างต้น

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com 

**************************************

26. นกเขาไม่ขันฟ้องหย่าได้หรือไม่ (26 of 26)
สภาพสังคมในปัจจุบัน ส่งผลให้หลายๆ ท่าน มีภาวะเครียด ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และไม่ออกกำลังกาย โดยเฉพาะผู้ชายอันจะนำไปสู่การมีสุขภาพย่ำแย่ ทั้งสุขภาพกายใจ และอาจลามไปถึงปัญหาครอบครัว เพราะหากคุณผู้ชายหย่อนสมรรถภาพอาจนำไปสู่การหย่าร้างได้ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1516 (10) บัญญัติไว้ว่า สามีหรือภรรยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภรรยานั้น ไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ ดังนั้น จึงควรดูแลสุขภาพเพื่อพลานามัยที่สมบูรณ์

มีคดีที่ศาลใหน ปรึกษาทนายใกล้ศาลนั้น 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้ศาลได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้ศาล.com 

***************************************

Visitors: 57,250