Chat with us, powered by LiveChat

คดีหมิ่นประมาท

เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (แพ้คดี)

เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง) ฎีกาที่ 447/2535
ฟ้องโจทก์กล่าวโดยสรุปว่า โจทก์เป็นหญิงสาว มีอาชีพรับราชการถูกจำเลยใส่ความต่อหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอว่า มี พฤติการณ์ทำนองชู้สาวกับ ส.อาจารย์ใหญ่โรงเรียนโดยส. มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงมีความหมาย ที่เข้าใจได้ ว่าโจทก์เป็นคนมีความประพฤติไม่ดี มีความสัมพันธ์ ทางชู้สาวกับสามีของหญิงอื่น อาจทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูก ดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังได้ ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับพฤติการณ์ ในทำนองชู้สาวว่ามีอย่างไร ชอบที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ได้กล่าวถึงถ้อยคำพูด หนังสือ อันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาทไว้โดยบริบูรณ์พอที่จะ ให้จำเลยเข้าใจ ข้อหาได้ดี เป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(5).

เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (ใส่ความ) ฎีกาที่ 3252/2543
จำเลยแจ้งความต่อร้อยตำรวจโท อ. เพื่อเป็นหลักฐานหากจะมีข้อความบางส่วนเป็นเท็จหรือผิดความจริงไปบ้างก็ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ร้อยตำรวจโท อ. ต้องทำการสอบสวนเนื่องจากไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(7) เมื่อจำเลยไม่มีเจตนาจะมอบเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ การแจ้งความของจำเลยจึงย่อมไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีเพื่อเอาผิดต่อจำเลยในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานได้

 คำว่า "ใส่ความ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึงพูดหาเหตุร้าย กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย โจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะกล่าวหาเรื่องร้ายประจานโจทก์ด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์ เมื่อจำเลยแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มีเจตนาให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่โจทก์ จึงเห็นได้ว่าจำเลยมุ่งประสงค์ให้โจทก์ถูกดูหมิ่นเกลียดชังและทำลายชื่อเสียงของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ ทั้งข้อความอันเป็นหมิ่นประมาทโจทก์เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัวไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนแม้เรื่องที่กล่าวหาจะเป็นความจริง จำเลยก็ไม่อาจยกเอาเหตุกระทำเพื่อป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมขึ้นปฏิเสธความผิดได้

เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง) ฎีกาที่ 3920/2562 
ข้อความที่จำเลยกล่าวจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงความรู้สึกของวิญญูชนทั่วๆไป เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าข้อความที่กล่าวถึงนั้นถึงขั้นที่ทำให้ผู้ถูกหมิ่นประมาทซึ่งเป็นทนายความน่าจะเสียชื่อเสียง บุคคลอื่นดูหมิ่น เกลียดชังหรือไม่ มิใช่พิจารณาตามความรู้สึกของผู้ถูกหมิ่นประมาทแต่ฝ่ายเดียว ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวว่า "เอาทนายเฮงซวยที่ไหนมา สถุล" นั้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้ความหมายของคำว่า "เฮงซวย" ว่า เอาแน่นอนอะไรไม่ได้ คุณภาพต่ำ ไม่ดี เช่น คนเฮงซวย ของเฮงซวย เรื่องเฮงซวย ส่วนคำว่า "สถุล" ให้ความหมายว่า หยาบ ต่ำช้า เลวทราม (ใช้เป็นคำด่า) เช่น เลวสถุล เช่นนี้ แม้ถ้อยคำที่จำเลยด่าโดยการกล่าวว่าทนายเฮงซวย เป็นเพียงการดูถูกเหยียดหยามและสบประมาทโจทก์ อันเป็นการพูดดูหมิ่นเหยียดหยามให้อับอายเจ็บใจ แต่ยังไม่เป็นการใส่ความให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังก็ตาม แต่เมื่อฟังประกอบกับถ้อยคำตอนท้ายว่า "สถุล" แล้ว วิญญูชนทั่วไปจึงอาจเข้าใจว่า โจทก์ซึ่งเป็นทนายความเอาแน่นอนอะไรไม่ได้ คุณภาพต่ำ ไม่ดีและเป็นไปในทางหยาบ ต่ำช้า เลวทราม ถ้อยคำดังกล่าวจึงอาจทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง อันอาจเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้

เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง) ฎีกาที่ 621/2518

กล่าวว่าหญิงเป็นคนสำเพ็งคนไม่ดี 5 ผัว 6 ผัว แม้กล่าวด้วยความหึงหวงสามีมิให้คบกับหญิงนั้นก็เป็นหมิ่นประมาท ตามมาตรา 326

 

เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง) ฎีกาที่ 472/2520
การบรรยายฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยได้บังอาจกล่าววาจาใส่ความผู้เสียหายต่อบุคคลที่ 3 ว่าผู้เสียหายเป็นเมียน้อยของ ผ. ซึ่งความจริงผู้เสียหายมิได้เป็นเมียน้อยของ ผ.แต่อย่างใดนั้น เป็นการบรรยายถึงการกระทำของจำเลยโดยกล่าวว่าผู้เสียหายเป็นเมียน้อยของ ผ.หาใช่โจทก์กล่าวสรุปวาจาหรือคำพูดของจำเลยเอาเองให้หมายความเช่นนั้นไม่ ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ว่าจำเลยหมิ่นประมาทผู้เสียหายโดยพูดว่าผู้เสียหายเป็นเมียน้อย ผ.

 

เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง) ฎีกาที่ 2371/2522

ผู้เสียหายในคดีหมิ่นประมาทได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนผู้รับคำร้องทุกข์ได้ทำการสอบสวนปากคำผู้เสียหายและพยานอีกปากหนึ่ง โดยยังไม่ได้ทำบันทึกการมอบคดีและลงบันทึกประจำวัน พนักงานสอบสวนผู้นั้นก็ได้ย้ายไปรับราชการที่อื่น ต่อมาพนักงานสอบสวนคนใหม่มาทำการสอบสวนต่อ จึงได้ทำบันทึกการมอบคดีและบันทึกประจำวันขึ้น ดังนี้ หาทำให้การสอบสวนที่ได้กระทำไปแล้วนั้นเสียไปไม่ เพราะเมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนผู้รับคำร้องทุกข์ย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนได้แล้ว โดยไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 วรรคสอง โจทก์ซึ่งมีอำนาจฟ้อง 

จำเลยพูดถึงผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงทำงานอยู่ที่สำนักงานที่ดินอำเภอว่ากระหรี่ที่ดิน คำว่า "กระหรี่" หมายความว่าหญิงนครโสเภณีหรือหญิงค้าประเวณี แม้จำเลยจะไม่ได้กล่าวรายละเอียดว่าค้าประเวณีกับใคร ประพฤติสำส่อนในทางเพศกับใครบ้าง ก็เพียงพอที่จะถือว่าเป็นคำหมิ่นประมาทแล้ว 

ผลของการใส่ความผู้อื่นน่าจะทำให้เขาเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังหรือไม่นั้น ศาลมีอำนาจวินิจฉัยเองได้ ไม่จำต้องอาศัยคำเบิกความของพยาน

เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง) ฎีกาที่ 782/2524

 

ข้อความที่จำเลยเขียนลงในหนังสือพิมพ์รายวันมีความหมายถึงโจทก์มีความว่า "เช็คเอย เช็คเด้ง แม้แต่เช็คเงิน3 พันบาทของอ้ายเสี่ยบ้ากามก็ยังเด้งมาแล้วดี.วัน.จันทร์. สะอื้นไห้ เฉียบ ชัยณรงค์ ไม่อยากจะเชื่อ เมื่อก่อนยังเป็นจับกัง ไอ้เสี่ยจ่ายเช็ค 3 พัน ก็เด้งเหมือนกันตำรวจไปตามจับ พี่แกโกยแนบไปกอดเมีย (เก่า) ร่ำไห้ด้วยความกลัวทุดส์ เรื่องของอ้ายเสี่ยบรรลัยมีมากมายเป็นพะเรอ คนรักใคร่ชอบพอมันทั้งน๊าน คอยส่งข่าวความสกปรกให้ฟังไม่ว่างเว้นซักที  เฮ้อกูละเบื่อ" ข้อความที่ว่า "ไอ้เสี่ยบ้ากาม" ก็ดีและที่ว่า "เมื่อก่อนยังเป็นจับกังไอ้เสี่ยจ่ายเช็ค  3 พันก็เด้งเหมือนกัน" ก็ดี. มีความหมายทำให้ผู้ที่ได้ยินได้ฟังเกิดความรู้สึกนึกคิดและเข้าใจตัวโจทก์ว่าโจทก์เป็นคนมักมากในกามคุณผิดวิสัยปุถุชนทั่วไป เช็คที่ออกจำนวนเงินเพียง3,000 บาท ก็ไม่มีเงิน ไม่ผิดอะไรกับครั้งยังเป็นกุลีหาเช้ากินค่ำแสดงให้เห็นและเข้าใจไปได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีความประพฤติไม่ดีไม่ควรแก่การยกย่องสมาคม อันเป็นการใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังโดยการโฆษณาด้วยเอกสารในเรื่องส่วนตัว ไม่มีลักษณะไปในทำนองของการติชมอย่างเป็นกลางและเป็นธรรมตามวิสัย เพื่อยังให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์

เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง) ฎีกาที่ 782/2524

 ข้อความที่จำเลยเขียนลงในหนังสือพิมพ์รายวันมีความหมายถึงโจทก์มีความว่า "เช็คเอย เช็คเด้ง แม้แต่เช็คเงิน3 พันบาทของอ้ายเสี่ยบ้ากามก็ยังเด้งมาแล้วดี.วัน.จันทร์. สะอื้นไห้ เฉียบ ชัยณรงค์ ไม่อยากจะเชื่อ เมื่อก่อนยังเป็นจับกัง ไอ้เสี่ยจ่ายเช็ค 3 พัน ก็เด้งเหมือนกันตำรวจไปตามจับ พี่แกโกยแนบไปกอดเมีย (เก่า) ร่ำไห้ด้วยความกลัวทุดส์ เรื่องของอ้ายเสี่ยบรรลัยมีมากมายเป็นพะเรอ คนรักใคร่ชอบพอมันทั้งน๊าน คอยส่งข่าวความสกปรกให้ฟังไม่ว่างเว้นซักที  เฮ้อกูละเบื่อ" ข้อความที่ว่า "ไอ้เสี่ยบ้ากาม" ก็ดีและที่ว่า "เมื่อก่อนยังเป็นจับกังไอ้เสี่ยจ่ายเช็ค  3 พันก็เด้งเหมือนกัน" ก็ดี. มีความหมายทำให้ผู้ที่ได้ยินได้ฟังเกิดความรู้สึกนึกคิดและเข้าใจตัวโจทก์ว่าโจทก์เป็นคนมักมากในกามคุณผิดวิสัยปุถุชนทั่วไป เช็คที่ออกจำนวนเงินเพียง3,000 บาท ก็ไม่มีเงิน ไม่ผิดอะไรกับครั้งยังเป็นกุลีหาเช้ากินค่ำแสดงให้เห็นและเข้าใจไปได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีความประพฤติไม่ดีไม่ควรแก่การยกย่องสมาคม อันเป็นการใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังโดยการโฆษณาด้วยเอกสารในเรื่องส่วนตัว ไม่มีลักษณะไปในทำนองของการติชมอย่างเป็นกลางและเป็นธรรมตามวิสัย เพื่อยังให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์

 

เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง) ฎีกาที่ 526/2525

ข้อความที่ลงหนังสือพิมพ์ในคอลัมน์ "มองมุมนอก" ของหนังสือพิมพ์รายวัน "มติชน" นอกจากระบุถึงชื่อและนามสกุลของโจทก์แล้ว ยังลงรูปโจทก์ด้วย ทั้งข้อความก็หมายถึงโจทก์เป็นส่วนใหญ่ และข้อความดังกล่าวมีความหมายว่าโจทก์ประพฤติปฏิบัติตนอย่างคนไร้ศีลธรรม การที่โจทก์ผ่านการสัมมนาหลักสูตรพัฒนานักบริหารไม่ได้ช่วยดัดสันดานและนิสัยของโจทก์ให้กลับตัวกลับใจมีคุณธรรม โจทก์มีส่วนพัวพันเป็นผู้จ้างวานฆ่านายพิชิตผู้สื่อข่าวไทยรัฐ เพราะโจทก์มีนิสัยขอบวางอำนาจมาตรใหญ่ มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย และใช้อำนาจในทางที่ผิด อำนาจฝ่ายต่ำจึงเข้าครอบงำ ถ้าประเทศมีข้าราชการระดับนักบริหารอย่างโจทก์ บ้านเมืองจะไปไม่รอด ข้อความดังกล่าวเป็นการใส่ความโจทก์ต่อผู้อ่านหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง และถือไม่ได้ว่าเป็นการเสนอข้อความโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของหนังสือพิมพ์ที่พึงกระทำ หรือเป็นการลงข่าวตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ 

บรรณาธิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจแก้ คัดลอก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์ ดังนั้น ในกรณีแห่งนังสือพิมพ์ บรรณาธิการที่จะต้องรับผิดเป็นตัวการ ต้องเป็นบรรณาธิการซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์เท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบรรณาธิการอำนวยการมีส่วนรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างไร ประกอบกับจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบรรณาธิการ เจ้าของผู้พิมพ์ผู้โฆษณาของหนังสือพิมพ์รายวัน "มติชน" รับว่าเป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงโฆษณาทั้งหมดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย

เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง) ฎีกาที่ 2499/2526

 จำเลยนำข้อความไปลงในหนังสือพิมพ์รายวันว่า "ประกาศจับ ส.(โจทก์)ในข้อหาหรือฐานความผิดยักยอกทรัพย์ ผู้ใดพบเห็นหรือชี้แนะได้ให้นำส่งสถานีตำรวจ ช.  (ผู้เสียหาย)" และลงรูปโจทก์ไว้ข้างข้อความดังกล่าว โดยปรากฏว่าขณะจำเลยนำข้อความตามฟ้องและรูปโจทก์ไปลงโฆษณานั้น จำเลยก็ทราบว่าโจทก์รับราชการมีที่อยู่ที่แน่นอน ซึ่งจำเลยอาจนำเจ้าพนักงานไปจับกุมโจทก์ตามหมายจับได้โดยง่าย ไม่มีความจำเป็นต้องลงโฆษณาประกาศจับทางหนังสือพิมพ์และข้อความที่ลงโฆษณาย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นคนทุจริต การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง เรื่องที่จำเลยลงโฆษณาก็เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน แม้พนักงานสอบสวนจะออกหมายจับโจทก์จริง การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328

 

เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง) ฎีกาที่ 447/2535

 ฟ้องโจทก์กล่าวโดยสรุปว่า โจทก์เป็นหญิงสาว มีอาชีพรับราชการถูกจำเลยใส่ความต่อหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอว่า มี พฤติการณ์ทำนองชู้สาวกับ ส.อาจารย์ใหญ่โรงเรียนโดยส. มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงมีความหมาย ที่เข้าใจได้ ว่าโจทก์เป็นคนมีความประพฤติไม่ดี มีความสัมพันธ์ ทางชู้สาวกับสามีของหญิงอื่น อาจทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูก ดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังได้ ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับพฤติการณ์ ในทำนองชู้สาวว่ามีอย่างไร ชอบที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ได้กล่าวถึงถ้อยคำพูด หนังสือ อันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาทไว้โดยบริบูรณ์พอที่จะ ให้จำเลยเข้าใจ ข้อหาได้ดี เป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(5).

 

เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง) ฎีกาที่ 97/2541 
จำเลยกับผู้เสียหายเคยมีความขัดแย้งกันในเรื่องหนี้เงินกู้มาก่อน ประกอบกับพฤติการณ์ของผู้เสียหายเมื่อไปถึงหน้ารั้วบ้านของจำเลยได้เรียกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ให้ออกมาพูด นอกรั้วบ้าน อันถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติ จำเลย ทำให้จำเลยโกรธผู้เสียหาย และร้องด่าผู้เสียหายว่า "มึงเป็นเมียน้อยสารวัตรส.อย่ามาทำใหญ่ให้กู้เห็นนะ"ต่อหน้า พ.ซึ่งมากับผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังจาก พ. อันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326


เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (ใส่ความ) ฎีกาที่ 3252/2543
จำเลยแจ้งความต่อร้อยตำรวจโท อ. เพื่อเป็นหลักฐานหากจะมีข้อความบางส่วนเป็นเท็จหรือผิดความจริงไปบ้างก็ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ร้อยตำรวจโท อ. ต้องทำการสอบสวนเนื่องจากไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(7) เมื่อจำเลยไม่มีเจตนาจะมอบเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ การแจ้งความของจำเลยจึงย่อมไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีเพื่อเอาผิดต่อจำเลยในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานได้

 คำว่า "ใส่ความ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึงพูดหาเหตุร้าย กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย โจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะกล่าวหาเรื่องร้ายประจานโจทก์ด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์ เมื่อจำเลยแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มีเจตนาให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่โจทก์ จึงเห็นได้ว่าจำเลยมุ่งประสงค์ให้โจทก์ถูกดูหมิ่นเกลียดชังและทำลายชื่อเสียงของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ ทั้งข้อความอันเป็นหมิ่นประมาทโจทก์เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัวไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนแม้เรื่องที่กล่าวหาจะเป็นความจริง จำเลยก็ไม่อาจยกเอาเหตุกระทำเพื่อป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมขึ้นปฏิเสธความผิดได้

เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง) ฎีกาที่ 3920/2562 

ข้อความที่จำเลยกล่าวจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงความรู้สึกของวิญญูชนทั่วๆไป เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าข้อความที่กล่าวถึงนั้นถึงขั้นที่ทำให้ผู้ถูกหมิ่นประมาทซึ่งเป็นทนายความน่าจะเสียชื่อเสียง บุคคลอื่นดูหมิ่น เกลียดชังหรือไม่ มิใช่พิจารณาตามความรู้สึกของผู้ถูกหมิ่นประมาทแต่ฝ่ายเดียว ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวว่า "เอาทนายเฮงซวยที่ไหนมา สถุล" นั้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้ความหมายของคำว่า "เฮงซวย" ว่า เอาแน่นอนอะไรไม่ได้ คุณภาพต่ำ ไม่ดี เช่น คนเฮงซวย ของเฮงซวย เรื่องเฮงซวย ส่วนคำว่า "สถุล" ให้ความหมายว่า หยาบ ต่ำช้า เลวทราม (ใช้เป็นคำด่า) เช่น เลวสถุล เช่นนี้ แม้ถ้อยคำที่จำเลยด่าโดยการกล่าวว่าทนายเฮงซวย เป็นเพียงการดูถูกเหยียดหยามและสบประมาทโจทก์ อันเป็นการพูดดูหมิ่นเหยียดหยามให้อับอายเจ็บใจ แต่ยังไม่เป็นการใส่ความให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังก็ตาม แต่เมื่อฟังประกอบกับถ้อยคำตอนท้ายว่า "สถุล" แล้ว วิญญูชนทั่วไปจึงอาจเข้าใจว่า โจทก์ซึ่งเป็นทนายความเอาแน่นอนอะไรไม่ได้ คุณภาพต่ำ ไม่ดีและเป็นไปในทางหยาบ ต่ำช้า เลวทราม ถ้อยคำดังกล่าวจึงอาจทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง อันอาจเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้

Visitors: 20,094